รหัสชุดข้อมูล
ชื่อ - สกุล
เกิด
เสียชีวิต
ประวัติ
พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายอรัญญวาสีในสมัยอยุธยา จำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมหรือวัดพุทไธสวรรย์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า พระพุทธโฆษาจารย์น่าจะเป็นพระอาจารย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเพทราชา ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่าเป็นผู้ชำนาญพระไตรปิฎกและเวทมนตร์คาถาตลอดจนสรรพความรู้ต่าง ๆ กล่าวกันว่าสมเด็จพระเพทราชาทรงสร้างตำหนักตึกเขียนลายจิตรกรรมภายในวัดพุทไธสวรรย์เพื่อถวายสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ในหนังสือประชุมพระราชปุจฉาสมัยอยุธยาปรากฏหลักฐานว่าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ถวายวิสัชนาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเพทราชาหลายครั้ง แสดงว่าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นที่เลื่อมใสของพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์มีความรู้ทั้งเรื่องทางโลกและทางธรรมเป็นอย่างดี มีความชำนาญวิชาทางอักษรศาสตร์ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลีตลอดจนพระไตรปิฎก
ผลงาน / งานประพันธ์
1. ราโชวาทชาดก
2. วิสัชนาสมเด็จพระนารายณ์เรื่องการลาสิกขา
3. วิสัชนาสมเด็จพระนารายณ์เรื่องเหตุที่ชาวอุตรกุรุทวีปไม่เป็นทุกข์
4. วิสัชนาสมเด็จพระนารายณ์เรื่องกรรม
5. วิสัชนาสมเด็จพระนารายณ์เรื่องความรู้ของพระโพธิสัตว์
6. วิสัชนาสมเด็จพระนารายณ์เรื่องทศพลญาณ
7. วิสัชนาสมเด็จพระนารายณ์เรื่องโพธิปักขิยธรรม
8. วิสัชนาสมเด็จพระนารายณ์เรื่องการสูญพระไตรปิฎกในโสฬสนคร
9. วิสัชนาสมเด็จพระนารายณ์เรื่องการบวชกะเทย
10. วิสัชนาสมเด็จพระเพทราชาเรื่องปริศนาธรรม 8 ประการ
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยาภาค 1.พระนคร : ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2510.
ประชุมพระนิพนธ์เกี่ยวกับตำนานทางพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม, 2514. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพคุณาธาร (ผล ชินปุตฺโต) ณ ฌาปนกิจสถานวัดพระพิเรนทร์ วันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2514)
ประชุมพระราชปุจฉาภาคปกิรณกะ.พระนคร : ดำรงธรรม, 2508. (คณะสงฆ์จังหวัดธนบุรีพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระสังฆราช ญาโณทยมหาเถระ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 20 พฤศจิกายน 2508)
ราโชวาทชาดก. พระนคร : สามมิตร์, 126.(ศิษย์พิมพ์แจกอุทิศกุศลให้แก่ พระยาโอวาทวรกิจ (แก่น เปรียญ)
คำสำคัญ