พระยาราชวรานุกูล นามเดิม อ่วม เริ่มเข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเสนีพิทักษ์ ถึงรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาศรีสิงหเทพ ปลัดบาญชีกรมมหาดไทย เมื่อพ.ศ. 2417 ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ผู้ช่วยเหรัญญิกในกรรมสัมปาทิกสภาหอพระสมุดวชิรญาณ ประจำปีที่ 9 พ.ศ. 2431 ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาราชวรานุกูล ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเมื่อพ.ศ. 2435 ภายหลังกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากทุพพลภาพในพ.ศ. 2442
พระยาราชวรานุกูลถึงแก่อนิจกรรมในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454
1. เสภาเรื่องอาบูหะซัน หรือเสภาเรื่องนิทราชาคริต ตอนที่ 9 แต่งขณะเป็นหลวงเสนีพิทักษ์
2. วชิรญาณสุภาษิต แต่งเป็นโคลง รวม 3 บท แต่งขณะเป็นพระยาศรีสิงหเทพ
3. จารึกลับแลเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ใน กลอนจารึกแต่งประทีปที่บางปะอิน แต่งขณะเป็นพระยาราชวรานุกูล
4. ปดลธรรมคำโคลง
จดหมายเหตุสยามไสมย จ.ศ. 1245 เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ต้นฉบับ, 2549.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ภาคที่ 15. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2480. (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงเพิ่ม โชฎึกราชเศรษฐี (โชติกะพุกกะณะ) ณ วัดยานนาวา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2480)
รัชนี ทรัพย์วิจิตร. ทำเนียบผู้บริหารหอพระสมุดวชิรญาณและเจ้าหน้าที่ พุทธศักราช 2428 – 2476. กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2543.
ราชกิจจานุเบกษา ร.ศ. 111 เล่ม 9.
ราชกิจจานุเบกษา ร.ศ. 118 เล่ม 16.
ราชกิจจานุเบกษา ร.ศ. 130 เล่ม 28.
ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2457 เล่ม 31.