TLD-002-140
พระยาราชสุภาวดี
ไม่ปรากฏ
ไม่ปรากฏ
พระยาราชสุภาวดีเป็นเสนาบดีรับราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช นายสมภพ ภิรมย์เป็นผู้สันนิษฐานว่า กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉบับภิกษุอินท์และพระยาราชสุภาวดีน่าจะแต่งในสมัยธนบุรี เพราะการเรียกชื่อเมืองนครศรีธรรมราชว่า กรุงนครศรีธรรมราช และชื่อพระยาราชสุภาวดีซึ่งเป็นตำแหน่งเสนาบดีข้าหลวงของนครศรีธรรมราช และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกฤษณาสอนน้องคำฉันท์* ฉบับภิกษุอินท์และพระยาราชสุภาวดี กับฉบับในรัชกาลพระเจ้าบรมโกศ พบว่ามีเนื้อความเหมือนกันแทบไม่ผิดเพี้ยน แต่ฉบับภิกษุอินท์และพระยาราชสุภาวดีขาดกาพย์ฉบังไป 1 บท และตอนท้ายมีอินทรวิเชียรฉันท์ 9 บท และวสันตดิลกฉันท์อีก 7 บท เพิ่มเข้ามา โดยกล่าวถึงจุดประสงค์ ที่มา และบุคคลที่เกี่ยวข้องในการสร้างวรรณคดีฉบับนี้
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ของภิกษุอินท์และพระยาราชสุภาวดี, กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส และวินิจฉัยเรื่องกฤษณาสอนน้อง พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร : สาระศึกษา, 2516.
Copyright © 2015 ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย : Thai Literature Directory