รหัสชุดข้อมูล
ชื่อ - สกุล
เกิด
เสียชีวิต
วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2431
ประวัติ
บ้านเดิมอยู่เมืองนครชัยศรี ได้บวชเป็นสามเณรเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักพระญาณสมโพธิ์ (รอด) วัดมหาธาตุ แล้วบวชเป็นพระภิกษุจำพรรษา ณ วัดมหาธาตุ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นเปรียญ 3 ประโยคในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาคำได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมได้อีกประโยคหนึ่ง รวมเป็น 4 ประโยค ต่อมาพ.ศ. 2424 ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเป็นพระญาณสมโพธิที่พระราชาคณะ ได้รับพระราชทานตาลปัตรแฉก นิตยภัตรเดือนละ 16 บาท
ผลงาน / งานประพันธ์
1. โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม*
ห้องที่ 120 – 122 จำนวน 84 บท เนื้อความตั้งแต่พระพรตและพระสัตรุตลาพระมารดาเข้ากองไฟจนถึงพระรามให้หนุมานเป็นพระยาอนุชิต
ผู้เรียบเรียง
สยาม ภัทรานุประวัติ, พลตรี หม่อมราชวงศ์ ศุภวัฒย์ เกษมศรี
เอกสารอ้างอิง
เปรียญรัชกาลที่ 5 รวบรวมพิมพ์เป็นภาคที่ 1. พระนคร : โสภณพิพรรฒธนากร, 2463. (พิมพ์แจกในงานศพพระธรรมทานาจารย์(หรุ่น) ราชาคณะวัดสระเกษเมื่อปีวอก พ.ศ. 2463)
เปรียญรัชกาลที่ 5 รวบรวมพิมพ์เป็นภาคที่ 2. พระนคร : โสภณพิพรรฒธนากร, 2463. (เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดีพิมพ์แจกในงานศพมหาเสวกตรีพระยาประชุมมงคลการ (อยู่ ปัณยานนท์) เมื่อปีวอก พ.ศ. 2463)
ราชกิจจานุเบกษา จ.ศ. 1250 เล่ม 5.
สมโภชพระนครครบร้อยปี. พระนคร : รุ่งเรืองรัตน์, 2503. (สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 โปรดให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพท้าววรคณานันท์(ม.ร.ว. แป้ม มาลากุล) ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 12 พฤษภาคม 2503)
คำสำคัญ