ขุนวิจิตรวรสาสน์ นามเดิม แกล้ว เป็นบุตรของพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น โอวาทสาร) ซึ่งเป็นครูที่มีความสามารถทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี ทำให้นายแกล้วมีความสามารถด้านภาษาและอักขรวิธีต่าง ๆ มีตำแหน่งราชการเป็นครูสอนหนังสือไทยในโรงสกูลหลวง ในกรมพระอาลักษณ์ เมื่อพ.ศ. 2421
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าขุนวิจิตรวรสาสน์ถึงแก่กรรมเมื่อใด ทราบเพียงว่าได้รับพระราชทานเพลิงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2427
1. โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ห้องที่ 26 รวมโคลง 28 บท เนื้อความตั้งแต่สุครีพมาเฝ้าพระรามจนพาลีตายเพราะศร
ห้องที่ 154 รวมโคลง 28 บท เนื้อความตั้งแต่นางวัชนีสูรเชิญพิเภกเข้าเมืองจนถึงหนุมานแปลงกายให้ทัพพระพรตข้ามกลับอยุธยา
การแต่งตั้งขุนนางไทยในสมัยรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2521.
ราชกิจจานุเบกษา จ.ศ.1240 เล่ม 5.
ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ 5 เล่ม 4. กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ, 2549.
ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ 5 เล่ม 5. กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ, 2549.
ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ 5 เล่ม 6. กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ, 2549.
สมโภชพระนครครบร้อยปี. พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, 2503. (สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 โปรดให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพท้าววรคณานันท์(ม.ร.ว. แป้ม มาลากุล) ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 12 พฤษภาคม 2503)