รหัสชุดข้อมูล
ชื่อ - สกุล
เกิด
เสียชีวิต
ประวัติ
พระศรีวิสุทธิวงศ์ นามเดิม ถึก เป็นเปรียญเอกในรัชกาลที่ 2 เป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงคู่กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่) ซึ่งเป็นเปรียญเอกอยู่ในคราวเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดทั้ง 2 รูป ในพ.ศ. 2365 โปรดให้คิดราชทินนามพระราชาคณะขึ้นใหม่คู่กัน สำหรับพระมหาจี่เป็นพระอมรโมลี พระมหาถึกเป็นพระศรีวิสุทธิวงศ์ ต่อมาทั้ง 2 รูปนี้ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอกันทุกคราว
ถึงรัชกาลที่ 3 พระศรีวิสุทธิวงศ์ได้เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพกระวี ในคราวเดียวกันกับที่พระอมรโมลี (จี่) เป็นพระเทพโมลี
ต่อมา พ.ศ. 2386 พระเทพกระวีได้เป็นพระพรหมมุนี ในคราวเดียวกับที่พระเทพโมลี (จี่) เป็นพระธรรมไตรโลก
ในรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394 พระพรหมมุนีได้เป็นพระธรรมอุดม สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในคราวเดียวกันกับที่พระธรรมไตรโลก (จี่) เป็นพระพิมลธรรม
พระธรรมอุดมมรณภาพในรัชกาลที่ 4 เมื่อพ.ศ. 2396 อายุได้ 58 ปี
ผลงาน / งานประพันธ์
โคลงภาพฤๅษีดัดตน
โคลงที่ 26 ดัดตนแก้เสียดอก
โคลงที่ 36 ดัดตนแก้กร่อนแก้ปัตฆาฏ
โคลงที่ 37 ดัดตนแก้ลมอำมพฤกษ์
โคลงที่ 38 ดัดตนแก้ลมส้นเท้า
โคลงที่ 39 ดัดตนแก้เอว
โคลงที่ 40 ดัดตนแก้ลมในขา
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน. กรุงเทพฯ : โสภณพิพรรฒธนากร, 2472. (พิมพ์ในงานพระศพ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2472)
วิจิตรธรรมปริวัติ, หลวง. “ตำแหน่งพระราชาคณะ.” วชิรญาณวิเศษ เล่ม 5 ร.ศ. 108.
สมมตอมรพันธุ์, กรมพระ และกรมพระดำรงราชานุภาพ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร. กรุงเทพฯ : โสภณพิพรรฒธนากร, 2466. (พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรศิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า โปรดให้พิมพ์ครั้งแรก เมื่อปีกุญ พ.ศ. 2466)
คำสำคัญ