รหัสชุดข้อมูล
ชื่อ - สกุล
เกิด
เสียชีวิต
วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2444
ประวัติ
นามเดิม แจ้ง เดิมจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ ต่อมาพระแจ้งสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดให้พระมหาแจ้งวัดสระเกศเป็นพระธรรมกิตติและให้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดรังษีสุทธาวาส
พระธรรมกิตติเป็นพระภิกษุที่มีความสามารถทางการประพันธ์และเป็นผู้ที่มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้พระธรรมกิตติแปลเรื่องพระเวสสันดรชาดก แล้วแต่งเป็นลิลิตมหาชาติร่วมกับกวีอื่น ๆ ทั้งฆราวาสและบรรพชิต เพื่อให้เป็นกวีนิพนธ์ทางศาสนาที่สำคัญในรัชสมัย
ผลงาน / งานประพันธ์
1. โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม*
ห้องที่ 165 – 167 รวมโคลง 84 บท เนื้อความตั้งแต่พระรามให้ทำขวัญพระมงกุฎและพระลบจนถึงพระรามเสด็จประพาสป่า
2. เรื่องลิลิตมหาชาติ กัณฑ์มหาพน
3. โคลงพิพิธพากย์ โคลงที่ว่าด้วยความเลินเล่อ จำนวน 16 บท
4. มหาโควินทรสูตร
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
โคลงพิพิธพากย. มปท. , 2487. (แจกไนงานพระราชทานเพลิงสพ นายอุทัยวรรน อมาตยกุล (พระยาพินิจจัย) นะ เมรุวัดเทพสิรินราวาส วันที่ 7 ตุลาคม พ.ส. 2487)
ธรรมกิตติ, พระ. “มหาพนลิลิต” วชิรญาณ เล่มที่ 8 ตอนที่ 1 ตุลาคม ร.ศ. 120 หน้า 25 – 56.
วชิรญาณ เล่มที่ 8 ตอนที่ 1 ตุลาคม ร.ศ. 120 หน้า 25 – 56.
สมโภชพระนครครบร้อยปี. พระนคร: รุ่งเรืองรัตน์, 2503. (สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 โปรดให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพท้าววรคณานันท์(ม.ร.ว. แป้ม มาลากุล) ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 12 พฤษภาคม 2503)
คำสำคัญ