รหัสชุดข้อมูล
ชื่อ - สกุล
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เกิด
เสียชีวิต
ประวัติ
พระนามเดิม เจ้าฟ้าพร เป็นพระราชโอรสสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 (พระเจ้าเสือ) กับพระอัครมเหสี มีพระเชษฐาพระนามเจ้าฟ้าเพชร เมื่อพระเชษฐาเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 (ท้ายสระ) แล้ว ทรงสถาปนาสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 กรมพระราชวังบวรฯ ทรงมีบทบาทสำคัญหลายด้าน เช่น ทรงกำกับการปฏิสังขรณ์วัดกุฎีดาว พ.ศ. 2269 ได้ตามเสด็จสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 ไปประทับ ณ ตำหนักชีปะขาว เพื่ออำนวยการรื้อพระวิหารพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก เมืองอ่างทอง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากถูกกระแสน้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลาย แล้วดำเนินการเคลื่อนย้ายพระพุทธไสยาสน์ เหตุการณ์ครั้งนั้นได้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพ จำนวน 69 บท เรียกกันต่อมาว่า โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก* จารึกเป็นจดหมายเหตุเล่าเรื่องราวไว้ในแผ่นศิลา โคลงบทที่ 46 – 68 เป็นบทเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 บทสุดท้ายกล่าวถึงผู้ทรงพระราชนิพนธ์ “อนุชาข้าแกล้วกล่าว กลอนถวาย”
เมื่อสมเด็จพระสรรเพชญที่ 9 ประชวรใกล้สวรรคต มีพระราชกระแสรับสั่งให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอภัยได้รับราชสมบัติ กรมพระราชวังบวรฯ ไม่ทรงยินยอม จึงเกิดสงครามกลางเมือง ฝ่ายกรมพระราชวังบวรฯ ทรงได้รับชัยชนะ จึงปราบดาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์ในพ.ศ. 2276 ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปีต่อมาได้เสด็จฯ ไปฉลองวัดป่าโมก
ผลงาน / งานประพันธ์
1. โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก
2. โคลงพาลีสอนน้อง
3. โคลงราชสวัสดิ
4. โคลงทศรถสอนพระราม
5. โคลงประดิษฐ์พระร่วง
6. โคลงราชานุวัฒ
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก.” ใน ประวัติวัดป่าโมกวรวิหาร ประวัติพระพุทธไสยาสน์ และพระพุทธบาทสี่รอย วัดป่าโมกวรวิหาร ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2533.
คำสำคัญ