รหัสชุดข้อมูล
ชื่อ - สกุล
เกิด
วันที่ 05 กรกฎาคม พ.ศ. 2401
เสียชีวิต
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471
ประวัติ
นามเดิม ถึก จิตรกถึก เป็นชาวจังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรขุนมณีบุบผา (จีด) ในวัยเด็กได้ศึกษาวิชาแต่งคำประพันธ์กับพระยาธรรมปรีชา (บุญ) ผู้เป็นลุงจนเชี่ยวชาญการแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
นายถึกเข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ.2427 โดยเป็นเสมียนในกรมศึกษาธิการแล้วย้ายไปเป็นครูรองที่โรงเรียนวัดประยุรวงศาวาส จนถึงพ.ศ. 2431 ได้เลื่อนเป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อครั้งที่เป็นครูที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาสนั้นได้มีโอกาสแต่งโคลงถวายพระพรหลายครั้ง โดยใช้นามว่า ครูถึก และเมื่อหอพระสมุดวชิรญาณออกหนังสือพิมพ์วชิรญาณวิเศษ ได้แต่งโคลงฉันท์ส่งมาลงพิมพ์หลายครั้ง ทำให้ชื่อของครูถึกเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
เมื่อพ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นหลวงธรรมาภิมณฑ์ รับราชการในกรมราชบัณฑิต ต่อมาพ.ศ. 2452 กลับมารับราชการในกระทรวงธรรมการ กองแต่งตำราเรียน
พ.ศ. 2456 หลวงธรรมาภิมณฑ์ได้ย้ายมาเป็นพนักงานหนังสือไทยในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร และได้เลื่อนยศเป็นรองอำมาตย์เอก ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จตุรถาภรณ์มงกุฎสยาม กับเหรียญจักรพรรดิมาลา หลวงธรรมาภิมณฑ์รับราชการในหอพระสมุดวชิรญาณมาจนถึง พ.ศ. 2470 จึงลาออกจากราชการเพราะป่วยด้วยโรคชรา
ผลงาน / งานประพันธ์
1. โคลงนิราศวัดรวก
2. โคลงนิราศวัดสมุหประดิษฐ์
3. วินิศวานิชคำฉันท์
4. เปริคลิสคำฉันท์
5. สิทธิศิลปคำฉันท์
6. เพ็ชรมงกุฏคำฉันท์
7. รัชมังคลาภิเษกคำฉันท์
8. ฉันท์ดุษฎีสังเวย สำหรับงานพระราชพิธีฉัตรมงคลรัชกาลที่ 6 ลา 1
9. ฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างเผือกพระเศวตวชิระพาหะ
10. กฎาหกคำฉันท์
11. ธาดามณีศรีสุพิน
12. เรื่องสามก๊ก ตอนนางเตียวเสี้ยนกับตั๋งโต๊ะ
13. ประชุมลำนำ
14. ปทุมวดีคำฉันท์
15. ทำขวัญโกนจุก งานหลวง
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก เล่ม 2. กรุงเทพฯ : ชมรมดำรงวิทยา, 2527.
ธรรมาภิมณฑ์, หลวง. โคลงนิราศวัดรวกและโคลงนิราศวัดสมุหประดิษฐ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545.
________. กฏาหกคำฉันท์. พระนคร : ราชบัณฑิตยสภา, 2472. (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ของอำมาตย์เอกหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472)
คำสำคัญ