รหัสชุดข้อมูล
ชื่อ - สกุล
พระพินิจวินัย (ปาน) (พระพินิตพินัย)
เกิด
เสียชีวิต
วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2447
ประวัติ
พระพินิจวินัย หรือพระพินิตพินัย นามเดิม ปาน เป็นชาวบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดในรัชกาลที่ 3 เมื่อพ.ศ. 2371 ได้บวชเป็นสามเณรที่วัดปรก จากนั้นมาเรียนที่วัดบางแคใหญ่ และวัดอัมพวันเจติยาราม แล้วจึงเข้ามาเรียนพระปริยัติธรรมในกรุงเทพฯ อยู่วัดบพิตรภิมุข แล้วมาอยู่วัดราชบุรณ เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามตั้งแต่ยังเป็นสามเณรเมื่อพ.ศ. 2388 ได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค
สามเณรปานอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อพ.ศ. 2392 สมเด็จพระสังฆราช (นาค) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วจำพรรษาอยู่วัดราชบุรณ ต่อมาเข้าแปลพระปริยัติธรรมที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้เป็นเปรียญ 5 ประโยค
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระภิกษุปาน เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกครั้งหนึ่งเมื่อพ.ศ. 2407 ได้เป็นเปรียญ 7 ประโยค และรับตำแหน่งพระวินัยธรรม ฐานานุกรมของสมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุญ)
ต่อมาพระวินัยธรรมไปสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรทางหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออก หลายปีจึงได้กลับเข้ามาอยู่วัดราชบุรณอีก
พ.ศ. 2421 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดให้ตั้งพระวินัยธรรมเป็นพระราชาคณะ ที่พระพินิจวินัย (โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม*ใช้ พระพินิตพินัย) และทรงพระกรุณาโปรดให้อาราธนาพระพินิจวินัยมาครองวัดมหรรณพาราม ต่อมาพ.ศ. 2430 ทรงเลื่อนเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ ที่พระเทพมุนี
พ.ศ. 2437 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมเจดีย์ และพ.ศ. 2443 ได้ครองวัดพระเชตุพนฯ แล้วได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เมื่อพ.ศ. 2443
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริจะสถาปนาพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปาน) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ แต่มรณภาพเสียก่อน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2447 อายุได้ 77 ปี
ผลงาน / งานประพันธ์
1. โคลงทวิชาวตารที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน 14 บท
2. โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม*
ห้องที่ 91 - 93 รวมโคลง 84 บท เนื้อความตั้งแต่ทศกัณฐ์เชิญท้าวสัทธาสูรมารบจนถึงหนุมานพบนางวานริน
3. ลิลิตศิริสารชาดก
4. ลิลิตมหาชาติ กัณฑ์นครกัณฑ์
5. คำอธิบายยวนพ่าย
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545.
อุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปาน), พระ. ลิลิตศิริสารชาดก. กรุงเทพฯ : สหธรรมิก, 2538.
คำสำคัญ