รหัสชุดข้อมูล
ชื่อ - สกุล
พระมหามนตรี (ทรัพย์ ยมาภัย)
เกิด
เสียชีวิต
ประวัติ
พระมหามนตรี นามเดิม ทรัพย์ ยมาภัย เป็นบุตรชายคนโตของนายน้อมกับนางอิน และเป็นปู่ของหม่อมเฉื่อยในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระมหามนตรีเมื่อแรกเข้ารับราชการในรัชกาลที่ 3 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น จมื่นราชามาตย์ สังกัดกรมพระตำรวจ ภายหลังได้เลื่อนเป็นพระมหามนตรี ต่อมาใน พ.ศ.2380 เกิดผู้ร้ายปล้นชุกชุมมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระมหามนตรีเข้าร่วมกับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) และพระมหาเทพ เป็นแม่กองกำกับตำรวจทั้งวังหลวงวังหน้า ชำระความผู้ร้ายปล้น จับหัวไม้ จับฝิ่น ทั้งในกรุงและหัวเมืองได้เป็นจำนวนมาก
พระมหามนตรีเป็นกวีที่มีความสามารถในการแต่งกลอนหาผู้เปรียบได้ยาก แต่มีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว เพราะเมื่อมีชีวิตอยู่ไม่ใคร่พอใจแต่งโดยเปิดเผย ดังเมื่อครั้งพระมหามนตรี (ทรัพย์) แต่งเพลงยาวว่าจมื่นราชามาตย์* ซึ่งต่อมาเป็นพระยามหาเทพ (ปาน หรือทองปาน) นั้น เล่ากันว่า เป็นแต่ลอบแต่งแล้วเขียนมาปิดไว้ที่ทิมดาบตำรวจในพระบรมมหาราชวัง ผู้อื่นเห็นก็รู้ว่าเป็นสำนวนพระมหามนตรี แต่ไม่มีผู้ใดฟ้องร้องว่ากล่าว มีแต่ผู้คัดลอกเอาไป แล้วคงจะฉีกต้นฉบับเสีย จึงไม่เกิดความฐานเขียนบัตรสนเท่ห์ ครั้งนั้นมีผู้ไม่ชอบพระยามหาเทพ (ปาน) กันมาก เพลงยาวฉบับนี้จึงได้แพร่หลายไป
ผลงาน / งานประพันธ์
1. โคลงภาพฤๅษีดัดตน โคลงที่ 62 ดัดตนแก้เส้นมหาสนุกระงับ
2. บทละครเรื่องระเด่นลันได
3. เพลงยาวกลบท* บทที่ 8 กลบทกบเต้นสามตอน 1 บท
4. เพลงยาวแต่งว่าจมื่นราชามาตย์* หรือ เพลงยาวว่าพระยามหาเทพปาน
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
จดหมายเหตุโหร ฉบับพระยาประมูลธนรักษ์. กรุงเทพฯ : โสภณพิพรรฒธนากร, 2464. (พิมพ์แจกในงานศพ นางช้อย ชูโต ปีระกา พ.ศ. 2464)
แผนผังสกุลยมาภัย โดย พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี. 2549. (เอกสารประกอบการจัดทำหนังสือที่ระลึกพระกฐินพระราชทานวัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2548)
มหามนตรี, พระ (ทรัพย์). บทละครเรื่องระเด่นลันได. กรุงเทพฯ : โสภณพิพรรฒธนากร, 2464. (แจกในการพระกฐินพระราชทานพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ณ วัดประทุมคงคา พ.ศ. 2464)
เอกสารต้นฉบับ ลายพระหัตถ์ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
คำสำคัญ