รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่าจะพิมพ์หนังสือลิลิตนิทราชาคริตที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเป็นของพระราชทานแจกพระบรมวงศานุวงศ์ จึงทรงแนะนำให้พวกสมาคมฯ เล่นละครเรื่องนิทราชาคริตโดยโปรดให้ปลูกโรงละครชั่วคราวขึ้นที่ชาลาด้านตะวันตกพระที่นั่งพิมานรัตยา ทรงเลือกสรรผู้แสดงละครแล้วโปรดให้เข้าไปซักซ้อมหน้าพระที่นั่ง โดยเสด็จลงทอดพระเนตรการซักซ้อมเนืองๆ ทรงพระราชดำริว่าเนื้อเรื่องบางตอนเมื่อนำมาเล่นละครควรจะมีบทร้องที่เข้าปี่พาทย์ด้วยจะดี จึงทรงพระราชนิพนธ์บทร้องเรื่องนิทราชาคริตเพิ่มเติมขึ้นสำหรับให้เล่นละครในครั้งนั้น
พระราชนิพนธ์บทร้องที่ใช้สำหรับการเล่นละครในครั้งนี้มีทั้งสิ้น 31 บท เป็นบทที่คัดมาจากลิลิตพระราชนิพนธ์โดยดัดแปลงบางคำ 3 บท ได้แก่ บทยุนุกร้องถวายพระพรกาหลิบ (คืออาบูหะซันเมื่อถูกลวงว่าเป็นกาหลิบ) และบทนางพวงไข่มุกถวายพระพร 2 บท อีก 27 บท เป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรงนำเนื้อความจากลิลิตมาแต่งใหม่เป็นกลอนหกบ้าง กลอนแปดบ้าง และกาพย์สุรางคนางค์บ้าง
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ลิลิตนิทราชาคริตกับตำนานและบทร้องลคร. พระนคร : โรงพิมพ์ไท, 2465. (สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าฯ พระบรมราชเทวีโปรดฯ ให้พิมพ์ในงานเฉลิมพระชันษาครบ 60 ปีบริบูรณ์เมื่อปีจอ พ.ศ. 2465)
คำสำคัญ
ละครร้อง , ยุนุก , กาหลิบ , อาบูอะซัน , ดาวพระศุกร์ , ชื่นจิต , สร้อยจิตร , อรุณ , เศร้าจิตร , จันทรประไพ , จอบแก้ว