รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ชื่อเรื่องอื่น
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์สำนวนนี้ แต่งขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี ปรากฏต้นฉบับในสมุดไทย 6 เล่ม เลขที่ 73 – 75 (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ) พระยาราชสุภาวดีและภิกษุอินท์ได้ร่วมกันแต่งซ่อมสำนวนเก่าซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสำนวนสมัยอยุธยาในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เนื้อเรื่องกล่าวถึงกษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่าพรหมทัต ครองกรุงพาราณสี มีพระมเหสีชื่อบุษบา มีพระราชธิดา 2 องค์ชื่อนางกฤษณาและนางจรับประภา (สมุดไทยบางเล่มว่า นางจันทรประภา หรือจิรัประภา) นางกฤษณาได้อภิเษกสมรส มีพระสวามีในคราวเดียวกันถึง 5 พระองค์ ส่วนนางจรับประภามีพระสวามีเพียงพระองค์เดียว แต่กลับมีปัญหาในการครองคู่ มิได้เป็นที่สนิทเสน่หาของพระสวามีจึงทุกข์โศกเศร้าหมองและร่างกายซูบผอม หมดสง่าราศี ต่างกับนางกฤษณาซึ่งเป็นที่รักใคร่และเป็นที่ยำเกรงของพระสวามีทุกพระองค์ นางจรับประภาจึงถามถึงเหตุแห่งความปรองดองในการครองชีวิตคู่ว่านางกฤษณามีเคล็ดลับวิธีการอย่างไรหรือใช้คุณไสยวิเศษใด นางกฤษณาอธิบายว่าเพราะนางประพฤติปฏิบัติตนด้วยการผูกไมตรี รู้จักครองตน ซื่อสัตย์ ไม่ข่มเหงดูถูกผู้ต่ำต้อยกว่า รักษากิริยามารยาท รู้จักอุปนิสัยและจิตใจของพระสวามี มิได้กระทำมนตร์เสน่ห์แต่อย่างใดเพราะถือเป็นสิ่งชั่วร้าย ทั้งยังสั่งสอนว่าสิ่งใดควรประพฤติ สิ่งใดไม่ควรประพฤติ รวมถึงศีลธรรมจรรยา เมื่อนางจรับประภารับไปปฏิบัติ ก็สามารถครองชีวิตได้อย่างมีความสุขเช่นกัน
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ศิลปากร, กรม. วรรณกรรมสมัยธนบุรี เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์,2539.
คำสำคัญ