TLD-001-111
บทดอกสร้อยสุภาษิต
พ.ศ. 2431
นาย (นก) แก้ว วสันตสิงห์ , ขุนวรพจน์พิจิตร (พิน เดชะคุปต์) , นายทัด เปรียญ , พระยาพินิจสารา (ทิม บุณยรัตพันธุ์) , พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร ในกรมพระวังบวรวิชัยชาญ , สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ , หม่อมเจ้าประภากร (ม.จ.ประภากร มาลากุล) , หลวงประสิทธิอักษรสาร (เทศ) , หลวงมลโยธานุโยค (นก) , หลวงไพศาลศิลปสาตร (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล)
กลอน
กลอนแปดสุภาพ
คำสอนในบทดอกสร้อยสุภาษิตมีหลากหลายและครอบคลุมการปฏิบัติทั้งกาย วาจา ใจ เพื่อเด็กจะได้มีแนวทางประพฤติปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง ให้มีทั้งความรู้และความประพฤติดี อาทิ สอนให้รู้จักกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ได้แก่ มารดาบิดา ครูอาจารย์ เจ้านาย และผู้ใหญ่ที่ให้ความอุปการะ เช่น นกเขาขันแต่เช้าจนเที่ยง สอนให้รำลึกและแสดงความเคารพแม่ผู้ได้ขับกล่อมเลี้ยงดูเรามา ไก่แจ้ สอนให้รำลึกถึงพระคุณครู สอนให้ตั้งใจขยันหมั่นศึกษาเล่าเรียนฝึกฝนให้มีวิชาความรู้ และรู้จักใช้เวลาว่างทำในสิ่งที่มีประโยชน์ อย่ามัวเสียเวลาทำสิ่งไร้สาระ เช่น บทนำให้เด็กร้องบทดอกสร้อยสุภาษิตแทนการร้องลิเก คุณค่าของบทดอกสร้อยสุภาษิตเด่นด้วยเนื้อหาที่ให้ข้อคิดสอนใจ ช่วยกล่อมเกลาปลูกฝังวางรากฐานในการประพฤติปฏิบัติและพัฒนาตนเองให้แก่เด็ก โดยใช้คำง่ายและทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพด้วยกลวิธีการเปรียบเทียบจากสิ่งที่อยู่แวดล้อมรอบ ๆ ตัว จึงทำให้บทดอกสร้อยสุภาษิตเป็นวรรณคดีคำสอนที่คนไทยนิยมให้เด็กอ่าน และกระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกนำมาเป็นบทอาขยานให้นักเรียนใช้ท่องจำไว้เป็นคติ และเป็นตัวอย่างของบทดอกสร้อย
คำสอน , สุภาษิต , การปฏิบัติกาย , การวางตัว
Copyright © 2015 ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย : Thai Literature Directory