รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
พระสี่เสาร์กลอนสวดเริ่มต้นด้วยบทประณามพจน์หรือบทไหว้ครู กวีไหว้พระรัตนตรัย ครูอาจารย์ เทพเทวดาที่รักษาบ้านเมือง และบิดามารดา จากนั้นนำเข้าสู่เรื่องด้วยการกล่าวถึงปัจจุบันวัตถุ คือ การกล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงเริ่มเทศนาเรื่องราวในอดีตชาติเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระสี่เสาร์ กล่าวถึงท้าวสุนทราชกษัตริย์เมืองอนันตนครมีพระมเหสีชื่อนางนพรัตน์ คืนหนึ่งนางฝันว่า พระบาทเบื้องขวาเหยียบยอดเขาพระสุเมรุจนอ่อนเอนไป ส่วนพระบาทเบื้องซ้ายเหยียบยอดเขาสัตตบริภัณฑ์ และนางเด็ดเอาดอกมณฑามาเชยชมด้วยความสำราญพระทัย โหรทำนายว่า นางจะประสูติโอรสที่มีรูปโฉมโสภาและมีบุญญาธิการมาก ต่อมาพระนางนพรัตน์ก็ได้ประสูติโอรสพระนามว่าพระสี่เสาร์ เมื่อพระสี่เสาร์มีพระชนมายุได้สิบหกพรรษา ท้าวสุนทราชก็มอบราชสมบัติให้ และให้อภิเษกกับนางอนันตเทวี วันหนึ่งพระสี่เสาร์ฝันว่ายอดปราสาทที่ประทับหักโค่นลงมา โหรทำนายว่าพระสี่เสาร์จะต้องพลัดพรากจากบ้านเมืองและทุกข์ทรมานอย่างสาหัสเป็นเวลาสองปีครึ่งจึงจะพ้นเคราะห์ ฉะนั้นขอให้พระองค์กระทำพิธีบูชาพระเสาร์เพื่อบรรเทาเคราะห์ พระสี่เสาร์ไม่เชื่อและโกรธมาก ด้วยถือว่าพระองค์มีบารมีเปี่ยมล้นเป็นที่เคารพยำเกรงทั้งสามภพ พระเสาร์จะมาทำอันตรายอย่างไรได้
ครบกำหนดเจ็ดวันตามที่โหรทำนายก็เกิดอาเพศ พระสี่เสาร์คลุ้มคลั่งไล่ฟันข้าราชบริพาร แล้วทรงม้าเหาะไป แต่ด้วยกรรมของพระสี่เสาร์ ทำให้พระสี่เสาร์ถุกกทุบตีด้วยคามเข้าใจผิด เช่น พบชาวนาผู้หนึ่งซึ่งกำลังตามหากระบายที่ถูกสุนัขคาบไป ด้วยกรรมของพระสี่เสาร์มงกุฎของพระองค์กลายเป็นกระบาย ชาวนาคิดว่าพระองค์ขโมยกระบายของตนไป จึงตรงเข้าทุบตีจนโลหิตไหลอาบทั้งกาย เป็นต้น พระสี่เสาร์ถูกทำร้ายร่างการเช่นนี้เพราะกรรมเก่า พระสี่เสาร์เดินทางมาถึงโรงทานเมืองกินนุวัตของนางสุทัตต์ธิดาท้าวกินนุวัต นางถูกเนรเทศออกจากเมืองเพราะโหรทำนายว่านางจะได้คู่เป็นคนยากเข็ญและจะทำให้ท้าวกินนุวัตต้องเสื่อมเสีย นางสุทัตต์จัดสำรับและเสื้อผ้าไปถวายพระสี่เสาร์ ด้วยบุพเพสันนิวาสทำให้ทั้งสองเกิดถูกตาต้องใจกัน นางสุทัตต์เชิญพระสี่เสาร์ขึ้นไปพำนักบนตำหนัก พระสี่เสาร์เล่าเรื่องราวของพระองค์และได้นางสุทัตต์เป็นชายาอยู่กินกันไปจนนางประสูติโอรส พระนามว่าสุทัตศรี ท้าวกินนุวัตทรงทราบเรื่องก็กริ้วมาก พยายามหาทางกำจัดพระสี่เสาร์ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ไม่สำเร็จ และเมื่อทราบว่าพระสี่เสาร์เป็นโอรสเมืองอนันตนคร
เมื่อครบกำหนดเวลาสองปีครึ่ง พระเคราะห์ของพระสี่เสาร์ก็ผ่านพ้นไป มงกุฎ พระขรรค์ แหวน รวมทั้งม้าพาหนะของพระองค์ก็กลับคืนสภาพเดิม พวกชาวนาที่ครอบครองของเหล่านี้อยู่ก็ตกใจ นำไปคืนให้ท้าวกินนุวัต พระสี่เสาร์ไม่คิดจองเวรและประทานรางวัลให้คนเหล่านั้น ด้วยตระหนักว่าเหตุการณ์ทั้งหมดคือชะตากรรมที่พระองค์มิอาจทัดทาน เมื่อหมดสิ้นกรรมแล้วจึงได้ทรัพย์สมบัติทั้งหลายกลับคืนมาอย่างง่ายดาย พระสี่เสาร์ระลึกถึงบุญคุณของพระสงฆ์กับสามเณรน้อย จึงให้นิมนต์พระและเณรมาถวายภัตตาหารและขออุปการะสามเณรน้อยเป็นราชบุตรบุญธรรมนามว่าเรวัต
ต่อมาพระสี่เสาร์หวนคิดถึงนางอนันตเทวีพระมเหสีจึงสั่งทหารแต่งสารไปยังอนันตนคร ให้นางทราบว่าพระองค์ประทับที่เมืองกินนุวัต นางอนันตเทวีจัดไพร่พลมาเชิญเสด็จพระสี่เสาร์กลับเมือง ในการนี้พระสี่เสาร์พานางสุทัตต์ สุทัตศรีและเรวัตกุมารกลับพร้อมพระองค์ด้วย พระสี่เสาร์กลับมาครองอนันตนคร แต่งตั้งนางอนันตเทวีกับนางสุทัตต์เป็นมเหสีฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ศิลปากร, กรม. พระสี่เสาร์กลอนสวด. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2547.
คำสำคัญ
พระสี่เสาร์ , ชาดก , ชาดกนอกนิบาต , ปัญญาสชาดก , ท้าวสุนทรราช , เมืองอนันนตนคร , นางนพรัตน์ , อนนัตเทวี , วิบากกรรม , กรรมก่า , เคราะห์ , นางสุทัตต์ , ท้าวกินนุวัต , พระสุทัตศรี , ศรีสุวรรณ , เรวัต
หมายเหตุ
มาจากชาดกนอกนิบาต คือนำเนื้อเรื่องมาจาก “สิโสรชาดก” ในปัญญาสชาดก