รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ชื่อเรื่องอื่น
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
เริ่มเรื่องด้วยร่าย 1 บท นำชมนครศรีอยุธยา (หมายถึงกรุงเทพฯ ) อันเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต สรรเสริญพระมหากษัตริย์ ที่เสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตราโดยชลมารคจากพระนคร จากนั้นจึงพรรณนากระบวนพยุหยาตรา อธิบายเรือในกระบวนไปตามลำดับ ลักษณะการจัดริ้วกระบวน 5 สาย ประกอบด้วยริ้วกระบวนเรือพระที่นั่งอยู่สายกลาง เรียกว่า สายพระราชยาน ริ้วสายคู่ในขนาบซ้ายขวาเรือพระที่นั่ง เรียกว่า ริ้วเรือแห่ ริ้วสายคู่นอกซ้ายขวา เรียกว่า ริ้วเรือกัน และบนสองฝั่งมีม้าแซงบนบกข้างละ 20 ม้า อธิบายประเภทของเรือ ชื่อเรือ ตำแหน่งในกระบวน ผู้มีหน้าที่ลงประจำเรือ การแต่งกาย รวมทั้งเครื่องประกอบยศแสดงตำแหน่งของผู้ประจำเรือ เมื่อจบความว่าด้วยกระบวนพยุหยาตราโดยชลมารค กวีได้พรรณนากระบวนพยุหยาตราโดยสถลมารคเรียกว่า กระบวนคเชนทร์พยุห์และอัสดรพยุห์ คือ กระบวนช้าง กระบวนม้า ซึ่งเป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินไปพระพุทธบาท
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
พระคลัง (หน), เจ้าพระยา. วรรณคดีเจ้าพระยาพระคลัง (หน). พระนคร : คลังวิทยา, 2515.
คำสำคัญ
แบบเรียน , ตำรา , คำ , อักษร , เฉลิมพระเกียรติ , กระบวนเรือ , พยุหยาตรา , ชลมารค , การจัดริ้วกระบวน , เรือพระที่นั่ง , ริ้วเรือ , สถลมารค , กระบวนช้าง , กระบวนม้า
หมายเหตุ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่งเมื่อจุลศักราช 1159 (พ.ศ. 2340) โคลงพยุหยาตราเพชรพวงนี้สันนิษฐานว่าแต่งประกอบกับภาพกระบวนพยุหยาตราเพชรพวงซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้คัดจากฉบับเก่าในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะมีความตรงกันกับภาพทุกประการ ทั้งกระบวนพยุหยาตราโดยชลมารค กระบวนพยุหยาตราโดยสถลมารค