รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
ผู้แต่งได้บรรยายเส้นทางการเดินทางจากพระนครไปนมัสการพระแท่นดงรังขณะที่บวชเป็นพระภิกษุ ในเทศกาลประจำปี ซึ่งอยู่ในราว 8 ค่ำ – 15 ค่ำ เดือน 4
เริ่มต้นด้วยการลงเรือที่ท่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ผ่านตำหนักแพ วังหลัง จากนั้นเรือเลี้ยวเข้าคลองบางกอกน้อย ผ่านบ้านบุ วัดทองหรือวัดสุวรรณาราม วัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดาราม ผ่านตำบลบางระมาด วัดไก่เตี้ย วัดพิกุล ไปบางกรวยจังหวัดนนทบุรี บางอ้อยช้าง บางขนุน บางขุนกอง บ้านจีน บ้านนายไกร วัดอุทยาน บางระนก บางโคเวียงหรือบางโคเวียงโรงหีบ บางม่วง บางใหญ่ วัดส้มเกลี้ยง เข้าคลองโยงซึ่งเป็นคลองเล็ก
ช่วงเวลาที่เดินทางนั้นเป็นช่วงฤดูน้ำแล้ง น้ำตื้น ทำให้เรือติดโคลนตม ต้องจ้างควายมาลากโยงเรือตั้งแต่เวลาเย็น จนสายวันรุ่งขึ้นพ้นคลองโยง ผ่านด่านนอกที่ปากประตูคลองโยง ออกแม่น้ำนครชัยศรี ผ่านลานตากฟ้า งิ้วราย สามประทวน นครชัยศรีซึ่งมีโรงเหล้าตั้งอยู่ ผ่านบางแก้ว วัดสิงห์ แล้วขึ้นบกที่ท่าริมคลองบางแก้ว ตำบลท่าพระยา อำเภอนครชัยศรี โดยสารเกวียนเทียมควาย ๑๕ เล่ม พร้อมสัปบุรุษและสีกา ผ่านบ้านธรรมศาลา ผ่านพระโทณหรือพระประโทน แล้วแวะนมัสการพระปฐมเจดีย์ (ในเรื่องเรียกว่าพระประทม) ซึ่งขณะนั้นถูกทิ้งให้รกร้าง จากนั้นเดินทางต่อไปผ่านไอ้ก้องหรือตำบลตาก้อง ลาดหญ้าหัวไซหรือลาดหญ้าไซในอำเภอกำแพงแสน โป่งลูกวัว หนองโพ ซึ่งขณะนั้นยังมีต้นโพใหญ่ขึ้นอยู่ริมหนองน้ำ ห้วยหมอนทอง ห้วยกระบอกซึ่งขณะนั้นน้ำแห้งเพราะเป็นช่วงฤดูแล้ง ถึงห้วยปลากดซึ่งเป็นจุดหยุดพักเกวียน มีบรรยากาศร่มรื่นมีท่าน้ำอุดมสมบูรณ์ไม่แห้งแล้ง ขบวนเกวียนได้หยุดพักผ่อนที่นี่ และออกเดินทางต่อในเวลาบ่าย แล้วเดินทางต่อไปผ่านพญาพายเรือ บ้านโป่ง (ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา) และเดินทางต่อไปจนถึงพระแท่นดงรัง สถานที่ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นพระแท่นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าและมีศิลาก้อนพระโลหิตที่แท่นนั้น อาณาบริเวณใกล้ ๆ กันนั้นยังมีเขาถวายพระเพลิง ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธองค์ เมื่อเดินทางไปถึงนั้นเป็นเวลาเย็นได้ปลูกที่พักค้างคืน รุ่งเช้านายมีและคณะที่ร่วมเดินทางนมัสการพระแท่นดงรังและค้างแรมเที่ยวงานเทศกาลสมโภชพระแท่นดงรังในตอนกลางคืน ซึ่งมีการแสดงมหรสพ เล่นสักวา เล่นเพลงแก้กัน เล่นเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน มีจุดดอกไม้เพลิง ครั้นเวลาเช้าก่อนเดินทางกลับ นายมีกรวดน้ำอธิษฐานอ้างเอาผลบุญที่ได้มานมัสการพระแท่นดงรังนี้ จงดลบันดาลให้ถึงพระนิพพาน เกิดชาติใดขอให้ได้พบพระและขอให้ประสบแต่ความสุขสมปรารถนาทุกชาติไป อย่าได้พบทุกข์โศก และกล่าวว่าประพันธ์เรื่องเพราะต้องการฝากฝีมือเชิงกวีให้เป็นที่ร่ำลือไปจนถึงเมืองหลวง
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
พรหมสมพัตรสร, หมื่น. นิราศพระแท่นดงรัง. พระนคร : กรมศิลปากร, 2504.
คำสำคัญ
หมายเหตุ
หมื่นพรหมสมพัตสร หรือ "นายมี" สันนิษฐานว่าเป็นศิษย์ของสุนทรภู่