รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
เนื้อเรื่องได้บอกเล่าถึงสถานที่ เหตุการณ์ที่พบเห็นในเส้นทางการเดินทางและมีบทรำพันเปรียบเทียบกับชีวิตของผู้แต่งอย่างไพเราะกินใจ
สามเณรกลั่นลงเรือเข้าคลองมหานาค เวลายามสอง ผ่านคลองคูพระนครหรือคลองโอ่งอ่าง ผ่านวัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) ผ่านวัดเลียบ (ราชบูรณะ) ซึ่งเป็นละแวกบ้านพระยาสุรเสนา (ฉิม) ปู่ของสามเณรกลั่น สามเณรกลั่นได้เคยอาศัยอยู่ที่นี่ในวัยเด็ก เข้าคลองบางหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ ผ่านวัดหงส์ บางยี่เรือ ไปออกคลองด่าน ผ่านวัดหมูหรือวัดอัปสรสวรรค์ เวลายามสามผ่านวัดราชโอรส วัดไทร บางบอน ศีรษะกระบือ แสมดำ คลองโคกขาม บ้านขอม เข้าคลองมหาชัย ออกแม่น้ำท่าจีน บ้านบ่อ นาขวางซึ่งมีด่านภาษีอยู่ที่นั่น กาหลง สมุทรสาคร เข้าคลองสุนัขหอน บางนางแม่ยาย บางพ่อตา บางนางสะใภ้ แม่กลอง ออกแม่น้ำแม่กลอง คลองบางนางลี่หรือคลองนางลี่ คลองอัมพวา บางกุ้งซึ่งมีศาลเจ้าปุนเถ้าก๋ง บางป่า งัวสี่หมื่นหรือตำบลสี่หมื่น แวะพักค้างคืนที่เมืองราชพรีหรือราชบุรีซึ่งเป็นเมืองเก่า
รุ่งเช้ารับบิณฑบาตแล้วออกเดินทางต่อ ผ่านปากคลองบางสองร้อย เขางู บ้านกล้วย บางกระ เจ็ดเสมียน แวะลงอาบน้ำพักผ่อนและก่อพระทรายบูชาไว้ที่หน้าวัดบางโตนด บางแขยง หมู่บ้านบางป่า แล้วทวนน้ำขึ้นไปผ่านอำเภอโพธาราม บางเลา เมืองครชุม (ตำบลนครชุม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี) งิ้วราย ศาลเจ้าเบิกไพร หมู่บ้านปากแรด แวะค้างคืนที่บางพังซึ่งมีวัดร้างกลางคืนมีเสือมาแต่มิได้ทำอันตราย เช้าตื่นสวดมนต์แล้วเดินทางต่อ ผ่านวังวานซึ่งมีเสือชุกชุม ลูกแก พงตึก ท่าหว้า วังทอง เกาะน้ำเชี่ยว หวายเหนียว ถ้ำมะกาที่นั่นมีหาดทรายและมีเต่ามาวางไข่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านพากันมาเก็บไข่เต่า พระภิกษุสุนทรภู่ขอบิณฑบาต ชาวบ้านก็ถวายให้ ท่านเอาไข่เต่าใส่หลุมทรายเกลี่ยกลบไว้ตามเดิม เพื่อให้ลูกเต่าได้เกิด จากนั้นเดินทางไปตามลำน้ำแม่กลอง จนถึงตำบลท่าเรือ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี บ้านกอจิก แล้วไปขึ้นบกที่ตำบลท่าเรือ โดยสารเกวียนที่นายช่องกับนายแก้วสองคนพี่น้อง กับจีนกลิ่นนำมารับ เดินทางต่อไปในเวลากลางคืนหนทางยากลำบาก หลงทางวนเวียนอยู่ระยะหนึ่งแล้วเดินทางต่อไปได้ ถึงบ้านตะเข้แวะพักค้างคืนที่บ้านนายช่อง สามเณรกลั่นกับสามเณรตาบและสามเณรพัดนอนบนเรือน พระภิกษุภู่สวดมนต์และจำวัดอยู่บนเกวียน เช้ารับถวายอาหารจากชาวบ้านป่า และเดินทางไปถึงพระแท่นดงรังในเวลาเช้าได้นมัสการพระแท่น ในเวลาบ่ายเดินทางโดยเรือล่องกลับมาทางเมืองราชพรี ท้ายเรื่องผู้แต่งได้ขอแบ่งส่วนบุญให้แก่ผู้อ่านทุกท่าน
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
สามเณรกลั่น. นิราศพระแท่นดงรัง. พระนคร : กรมแผนที่ทหาร, 2500. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางวิจารณ์เลขา (พัน เลิศวณิช)23 พ.ค. 2500)
คำสำคัญ
หมายเหตุ
สามเณรกลั่น บุตรบุญธรรมของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเมื่อครั้งติดตามพระภิกษุภู่ไปนมัสการพระแท่นดงรังพร้อมกับสามเณรตาบและสามเณรพัด