รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระเจ้าพรหมทัต มเหสีชื่อนางบุษบา มีพระราชธิดา 2 พระองค์ นามว่า นางกฤษณาและนางจิรประภา นางกฤษณาผู้เป็นพี่มีพระสวามีพร้อมกันถึง 5 พระองค์ ได้ปรนนิบัติพระสวามีอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง เป็นที่รักใคร่ของพระสวามีอย่างสม่ำเสมอทั้งยังไม่เคยเกิดการทะเลาะวิวาทกันในระหว่างพระสวามี นางจิรประภาแม้มีพระสวามีเพียงพระองค์เดียว กลับมีแต่ความทุกข์โศก ผิวพรรณหมองคล้ำ พระสวามีเกิดความเบื่อหน่าย ขึ้งโกรธอยู่เนืองๆ นางจิรประภาจึงไปปรึกษานางกฤษณาและถามถึงสาเหตุที่นางกฤษณาเป็นที่สนิทเสน่หาของพระสวามี นางกฤษณาได้อธิบายเป็นเชิงสั่งสอนเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรมจรรยา กิริยามารยาท การประพฤติปฏิบัติตน การพูดจา และความซื่อสัตย์สุจริต และสอนให้รู้จักอัธยาศัย และรู้ใจพระสวามี ควรปรนนิบัติพระสวามีในเรื่องต่างๆ เช่น ตื่นก่อนเข้านอนทีหลัง พัดวีเมื่อยามร้อน รักนวลสงวนตัว ดูแลเรื่องอาหารการกิน การแต่งกาย น้ำสรงน้ำเสวย ปัดปูที่นอน เอาใจใส่ทุกๆ เรื่องทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน มีคำสอนเรื่องของกิริยามารยาทในอิริยาบถทั้ง 4 ได้แก่ การนั่ง นอน ยืน เดิน ตลอดจนการรับประทานอาหาร การผูกมิตรไมตรี และการมีมนุษยสัมพันธ์
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์สำนวนนี้ มีถ้อยคำสำนวนใกล้เคียงกับฉบับธนบุรี แต่ใช้ศัพท์สูงกว่า สำนวนโวหารจัดว่าไพเราะและดีเด่น และจัดเป็นหนังสือที่ให้ข้อคิด คติธรรมที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามี รวมทั้งกิริยามารยาทที่สตรีทั่วไปควรปฏิบัติ ทั้งยังเป็นแบบฉบับของกวีนิพนธ์ภายหลังต่อมาได้อีกด้วย
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ วินิจฉัยเรื่องกฤษณาสอนน้อง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและหลักราชการ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2508. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.อ. (พิเศษ) ทรง บุรานนท์)
คำสำคัญ