รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
หลวงลิขิตปรีชา , หลวงนายชาญภูเบศร์ , หลวงชาญภูเบศร์ , หมื่นนิพนธ์อักษร , พระองค์เจ้านวม (กรมหลวงวงศาธิราชสนิท) , พระองค์เจ้าคเนจร (กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร) , พระมหามนตรี (ทรัพย์) , พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว , นายเกต , นายนก มหาดเล็ก , นายช้าง (เปรียญ) มหาดเล็ก , จ่าจิตรนุกูล , ขุนธนสิทธิ์ , กรมหมื่นไกรสรวิชิต
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
เพลงยาวกลบทมีจำนวน 65 บท เป็นบทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจำนวน 20 บท ที่เหลือเป็นพระนิพนธ์ของพระบรมวงศานุวงศ์และบทนิพนธ์ของข้าราชบริพาร นับเป็นกวีนิพนธ์ที่สำคัญ แสดงให้เห็นความสามารถของกวีผู้ประพันธ์ ที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นกลวิธีการเล่นเสียง เล่นคำแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวอย่างการแต่งกลอนกลบทแต่ละชนิด โดยใช้รูปแบบเพลงยาว แต่ละบทมีเนื้อความเป็นจดหมายรักของชายหนุ่มเขียนให้หญิงสาวที่ตนรัก กล่าวฝากรักโดยยืนยันความรักของตนบ้าง แสดงความวิตกว่าฝ่ายหญิงจะไม่รักตอบบ้าง แสดงความรู้สึกผิดหวังบ้าง ตัดพ้อต่อว่าฝ่ายหญิงบ้าง แต่ละบทแต่งเป็นกลบทที่เล่นเสียงเล่นคำได้อย่างไพเราะ โดยเล่นเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ เพื่อช่วยให้ผู้ฝึกหัดเข้าใจวิธีการแต่งอย่างแจ่มชัด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เขียนแผนผังแสดงกลวิธีการแต่งกลบทแต่ละชนิดไว้ให้สังเกตก่อนจะถึงตัวบทเพลงยาวแต่ละบทด้วย นอกจากนี้ เพลงยาว 10 บทตอนท้ายยังมีลักษณะเป็นกลอักษรด้วย เพลงยาวที่เป็นกลอักษรดังกล่าวนี้มีโคลงอธิบายประกอบด้วย เพลงยาวกลบทจึงนับเป็นกวีนิพนธ์ที่สำคัญอย่างยิ่ง เป็นตำราการประพันธ์ที่มีความงามทั้งในด้านความหมายและในด้านเสียง เหมาะสมที่จะเป็นตัวอย่างสำหรับผู้ฝึกหัดแต่งได้เป็นอย่างดียิ่ง
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
เพลงยาวกลบทและกลอักษรแต่งจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 5. พระนคร : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, 2512. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพรองอำมาตย์ตรีมนู นาคามดี 3 มิถุนายน 2512)
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ