รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
พระราชกรัณยานุสรแยกศัพท์เป็น ราช-กรณี-อนุสร แปลตามศัพท์ว่า การตามระลึกถึงกิจแห่งพระราชา ตามนัยโคลงพระราชนิพนธ์นี้ มีพระราชประสงค์จะให้เป็นแบบหรือตำราแก่ผู้ที่จะมาเรียนรู้ภายหลัง
พระราชนิพนธ์นี้ทรงไว้ไม่ตลอด แม้พระราชพิธีเดือนห้าอันเป็นการเริ่มต้นปีทางจันทรคติไทย เรื่องพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลหรือพระราชพิธีถือน้ำก็ทรงไว้ไม่จบ ด้วยมีพระราชกิจทางบ้านเมืองทับทวีขึ้น ในตอนท้ายเท่าที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ทรงอ้างถึงโคลงพระราชพิธีทวาทศมาส พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ซึ่งคงจะทรงนิพนธ์ก่อนพระราชนิพนธ์พระราชกรัณยานุสรว่ามีรายละเอียดมาก ถ้าทรงพระราชนิพนธ์ไว้ตลอดก็จะเป็นแบบได้ โดยนัยนี้แสดงว่า โคลงพระราชพิธีทวาทศมาสก็ยังแต่งไม่จบ แต่ก็เป็นโคลงถึง 600 บทแล้ว และทรงอ้างถึงพระราชนิพนธ์โคลงพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลคเชนทรัศวสนานไว้ด้วย ว่าได้ทรงพระราชนิพนธ์รายละเอียดไว้แล้ว ตอนท้ายฉบับพิมพ์ มีอธิบายเพิ่มไว้ว่า “หมดฉบับเพียงเท่านี้ หนังสือนี้ทราบว่าทรงไว้ต่อนี้ไปอีกจนถึงพระราชพิธีคเชนทรัศวสนาน ซึ่งต่อกับพระราชพิธีถือน้ำแต่ไม่พบฉบับ พบแต่เพียงเท่าที่คัดมานี้”
วัตถุประสงค์
เอกสารอ้างอิง
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, พระราชกรัณยานุสร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2541.
คำสำคัญ