รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
บทละครเรื่องนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงนิพนธ์สำหรับแสดงละครถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเป็นเรื่องแรกในราวพ.ศ. ๒๔๔๑ ด้วยเหตุที่ทรงเห็นว่าเนื้อเรื่องยาวมาก จึงทรงตัดแบ่งเพื่อการแสดงเป็นสามตอน (สำหรับแสดงคืนละตอน) ตอนแรกมี ๖ ฉาก เดินความจากนางรื่นนางโรยอาสาไปเชิญปู่เจ้าไปจนถึงพระลอคลั่งออกจากเมืองแมนสรวง ตอนกลางเริ่มจากพระลอข้ามแม่น้ำกาหลงไปจนกระทั่งเข้าสวนเพื่อนแพง ๕ ฉาก และตอนท้าย ๖ ฉาก จากเพื่อนแพงทูลลาเจ้าย่าไปอุทยานจนถึงพิฆาตพระลอ เมื่อปิดฉากสุดท้ายของแต่ละตอน มีบทให้ละครทั้งโรงออกมาเฝ้าถวายบังคม รำถวายพระพรตามบทราชสดุดีซึ่งแต่งต่างกันทุกตอน ก่อนจะลงท้ายด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี
ม.จ.พรพิมลพรรณ รัชนี พระธิดา ทรงเขียนเล่าประทานในคำนำบทละครเรื่องนี้ ซึ่งจัดพิมพ์เป็นคราวแรกสำหรับแจกในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา ว่า กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพยายามรักษาเนื้อความและถ้อยคำของลิลิตพระลอไว้มากที่สุดเท่าที่จะทรงทำได้ โดยเฉพาะตอนสำคัญ เช่น ตอนนางบุญเหลือประทานโอวาท ตอนปู่เจ้าส่งไก่มาล่อพระลอ ตอนศึกพิฆาตพระลอและบทโศกของท้าวพิชัยพิษณุกรกับนางดาราวดีนั้น ทรงตัดตอนบทในลิลิตมาใช้เป็นบทร้องเลยทีเดียว นอกนั้นก็ทรงแต่งเป็นกลอนถอดคำถอดความจากในลิลิตมาอย่างครบถ้วน
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
คำสำคัญ
พระลอ , เพื่อน , แพง , นางรื่น , นางโรย , เมืองแมนสรวง , เจ้าย่า , ปู่เจ้า , นางบุญเหลือ , ท้าวพิชัยพิษณุกร , นางดาราวดี , ท้าวพิมพิสาคร , นางลักษณาวดี , เมืองสรอง , นายแก้ว , นายขวัญ , ขุนด่าน , นายศรีเกศ , พราหมณ์
หมายเหตุ
กลวิธีที่ทรงนิพนธ์บทละครเรื่องนี้ต่างไปจากบทละครแบบเดิมของไทยแต่ก่อนมา เพราะมิได้ทรงใช้กลอนบทละครเดินความไปตลอดเรื่องเช่นเคย หากแต่ทรงแยกย่อยเรื่องออกเป็นฉาก ตั้งชื่อฉากตามเหตุการณ์สำคัญ กำหนดลักษณะการแต่งฉาก การตีบทของตัวละครอย่างย่อ ๆ ด้วยข้อเขียนแบบความเรียงในวงเล็บเสียก่อน จึงเดินความพรรณนาอากัปกิริยาของตัวละครหรือร้อยกรองอย่างอื่นที่จะเข้ากับทำนองเพลง