รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าว่าได้ต้นฉบับมาเล่มเดียว ขึ้นต้นจากพระลอฟังคนขับซอยอโฉมเพื่อนแพง ไปจนกระทั่งพระลอสั่งเมือง แต่มีผู้เล่าว่าพระนิพนธ์นั้นที่จริงมีสองเล่ม เดินความไปจนจบที่เชิญพระศพพระลอมายังที่สระบุรี แต่เท่าที่ค้นหาไม่พบฉบับดังกล่าว จึงจัดพิมพ์เท่าที่หาได้ไว้ก่อน และได้นำบทละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) มาเติมต่อตอนท้าย เดินความต่อจากพระลอลานางลักษณาวดียกทัพออกจากเมือง ถึงตอนพระลอเข้าสวนเพื่อนแพง ส่วนที่น่าสนใจ คือบทพรรณนาอาการประชวรของพระลอและวิธีรักษา ซึ่งรวบเข้ามาเป็นครั้งเดียวก่อนจะมีศึกผีและสลาเหิน มีการสันนิษฐานอาการอย่างหมอโบราณแผนไทย ออกชื่อโรคไว้หลายชนิด เช่น สันนิบาต อัมพฤกษ์ ไข้เส้น รำเพรำพัด และวิธีรักษา อธิบายตั้งแต่ขั้นตอนการรับหมอเข้ามาในเขตพระราชฐานชั้นในทีเดียว ส่วนพระลอแม้ในครั้งนี้จะมีบทน้อย แต่หลังเสวยสลาเหินก็มีอาการคลั่งหนักถึงแก่ลุกขึ้นไล่ตีสาวสรรกำนัลในตามแบบของกษัตริย์ในละครนอกที่ชาวบ้านชอบดูนั้นเอง นับว่าบุคลิกของตัวละครแปรไปจากลิลิตต้นฉบับมากและข้อหาที่พระลอยกขึ้นกล่าวว่านางในนั้น แม้จะเป็นข้อหาตามแบบก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะอาจแยกได้เป็นสองฝ่าย หนึ่งคืออัครมเหสีต้องข้อหาขี้หึง ส่วนนางเล็ก ๆ ถูกดุด่าว่าเล่นหมากขุมแปดเก้า เล่นไพ่และเล่นเพื่อนเป็นอาทิ แสดงว่าพฤติกรรมทำนองนั้นของสตรีในพระราชวังน่าจะมีอยู่จริงในสมัยที่ทรงนิพนธ์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ชุมนุมเรื่องพระลอ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2547.
คำสำคัญ
พระลอ , เพื่อน , แพง , นางรื่น , นางโรย , เมืองแมนสรวง , เจ้าย่า , ปู่เจ้า , นางบุญเหลือ , ท้าวพิชัยพิษณุกร , นางดาราวดี , ท้าวพิมพิสาคร , นางลักษณาวดี , เมืองสรอง , นายแก้ว , นายขวัญ , ขุนด่าน , นายศรีเกศ , พราหมณ์