TLD-001-167
ลิลิตพระฦา
พ.ศ. 2399
ลิลิต
ร่ายสุภาพ , โคลงสองสุภาพ , โคลงสี่สุภาพ
พระฦๅเป็นโอรสของท้าวพันทุมราชกษัตริย์เมืองลพบุรี ความงามของพระฦๅนั้นมีผู้นำไปขับซอชมโฉมทั่วแผ่นดิน เมื่อพระพิมพ์พระพรรณ พระธิดาท้าวนพรัตน์ กษัตริย์เมืองรมยนครได้ฟังก็หลงใหล นางพี่เลี้ยงคือนางจั่นนางเจิมจึงไปหาพระโยคีบนเขาเพื่อให้พระโยคีช่วยเหลือทำเสน่ห์ให้พระฦๅเดินทางมาหาพระธิดา พระโยคีเล็งญาณเห็นว่าทั้งสามนั้นเป็นเนื้อคู่กันจึงตกลงทำเสน่ห์ให้ พระโยคีทำเสน่ห์ถึง 3 ครั้งจึงสำเร็จ พระฦๅเดินทางมาด้วยเรือกำปั่นไปพร้อมกับนายกลั่นนายเกลี้ยงพี่เลี้ยง จนมาพบพระพิมพ์พระพรรณ เมื่อเวลาผ่านไปทั้งหมดเกิดกลัวพระอาญาของท้าวนพรัตน์จึงพากันลอบหนีจากเมืองรมยนครไปเมืองลพบุรี แต่ก็วางสาส์นเล่าเรื่องราวทั้งหมดไว้ พระย่ามาพบจึงทูลท้าวนพรัตน์ ฝ่ายท้าวพันทุมราชแต่งสาส์นขออภัยโทษ จากนั้นเมืองทั้งสองก็เจริญสัมพันธไมตรีทางการทูตและการค้านับแต่นั้นมา
พระราชครูพิเชต (มหากลัด). ลิลิตพระฦๅ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2513. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายช่วย แสงสุชาติ ณ เมรุวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร วันที่ 7 มกราคม 2513)
พระฦา , ท้าวพันทุมราช , เมืองลพบุรี , พระพิมพ์ , พระพรรณ , ท้าวนพรัตน์ , นางจั่น , นางเจิม , ทำเสน่ห์ , นายกลั่น , นายเกลี้ยง
ลิลิตพระฦาเป็นวรรณกรรมที่สะท้อนให้เห็นความนิยมเรื่องลิลิตพระลอ ความน่าสนใจของเรื่องลิลิตพระฦๅน่าจะอยู่ที่การแต่งเลียนแบบเรื่องพระลอ แต่ดัดแปลงให้จบอย่างมีความสุข โดยรักษาถ้อยคำสำนวนตามขนบเดิม
Copyright © 2015 ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย : Thai Literature Directory