รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นบทละครที่มีเนื้อเรื่องแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกตั้งแต่หนุมานไปถวายแหวนจนถึงทศกัณฐ์ล้ม อีกตอนหนึ่งมีเนื้อความไม่ต่อเนื่องกับตอนแรก เรื่องเริ่มตั้งแต่พระรามประพาสป่าจนถึงพระอิศวรอภิเษกพระรามกับนางสีดา
รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มุ่งจะใช้เป็นบทแสดงละครรำจึงเลือกเฉพาะตอนที่เหมาะสมจะแสดงละครและทรงปรับเนื้อหาและถ้อยคำให้ไพเราะและเหมาะสมกับการแสดง
รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้รับการยกย่องว่าเป็นบทละครรามเกียรติ์ที่มีความไพเราะและถือเป็นแบบแผนของบทละครในดังปรากฏว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงทำบุญพระตำหนักจิตรลดารโหฐานใน พ.ศ. 2456 ได้มีพระราชดำริว่าจะพิมพ์หนังสือดีพระราชทานแก่ผู้ที่มาช่วยงาน ทรงรำลึกถึงรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ว่า “นักเลงหนังสือก็ดี นักเลงดูละครก็ดี ต้องยอมทั้งนั้นว่าเป็นหนังสืออันดี เป็นบทกลอนไพเราะ และถ้อยคำสำนวนดี เป็นตัวอย่างดียิ่งอันหนึ่งแห่งจินตกวีนิพนธ์ในภาษาไทยเรา สมควรแล้วที่จะเป็นหนังสือซึ่งจะรักษาไว้เป็นแบบแผน” จึงได้ทรงเลือกบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 เป็นหนังสือที่จะพิมพ์พระราชทาน
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 1 – 3. พระนคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2498.
คำสำคัญ