TLD-001-239
สนุกนิ์นึก
พ.ศ.2428
ร้อยแก้ว
ความเรียง
พระภิกษุวัดบวรนิเวศฯ 4 รูปนั่งคุยกันเรื่องออกพรรษาแล้วจะสึกไปทำอะไรกันบ้าง พระภิกษุ 3 รูปเป็นบุตรผู้มีฐานะบ้างหรือมีอาชีพอยู่แล้วก่อนบวชบ้าง จึงมีแนวทางชีวิตที่ชัดเจนมั่นคง แต่รูปที่ 4 ชื่อสมบุญนั้นเป็นลูกกำพร้าบวชเณรพึ่งวัดมาแต่เด็ก เมื่ออุปสมบทแล้วจึงมีอุบาสิกาที่เป็นโยมอุปัฏฐากผู้หนึ่งทาบทามจะขอให้สึกไปเป็นคู่ของลูกสาว แต่ตัวพระสมบุญนั้นไม่แน่ใจ เรื่องจบลงเพียงนี้
ร้อยแก้วแนวใหม่ของไทย (พ.ศ. 2417 – 2453). กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย, 2547.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า กรมหลวงพิชิตปรีชากรน่าจะทรงแต่งสนุกนิ์นึกขึ้นในช่วงผนวชที่วัดนั้นใน พ.ศ.2428 จึงยืมสถานที่จริงมาใช้ผูกเรื่อง แต่ปรากฏว่าถึงแม้จะไม่มีพาดพิงถึงคนจริง ๆ เลย เมื่อนำลงเผยแพร่ในวชิรญาณวิเสศได้เพียงตอนเดียวยังไม่จบก็เกิดเรื่อง เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงน้อยพระทัยโทมนัสที่ผู้เคยบวชวัดบวรนิเวศฯ “เขียนประจาน” วัดเสียเอง ร้อนถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงไกล่เกลี่ยแก้ไข และกรมหลวงพิชิตปรีชากรก็หยุดทรงนิพนธ์ ปล่อยเรื่องให้ค้างไว้เพียง 4 หน้าครึ่ง ทั้ง ๆ ที่เพิ่งเริ่มเดินเนื้อความไปได้เล็กน้อย
Copyright © 2015 ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย : Thai Literature Directory