รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
โคลงสี่สุภาพ , โคลงสามสุภาพ , โคลงสองสุภาพ , ร่ายสุภาพ
เนื้อเรื่องย่อ
เนื้อความกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตแต่งบทประพันธ์เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวาย จากนั้นเป็นร่ายและโคลงสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงปกครองบ้านเมืองให้ผาสุกร่มเย็น พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในทุกด้าน โดยเฉพาะพระสติปัญญาเปรียบดังพระมโหสถในนิบาตชาดก พระองค์ทรงรอบรู้พระราชานุวัตรทั้งที่เป็นโบราณราชประเพณี และราชประเพณีที่ทรงปรับแก้ รวมทั้งธรรมเนียมที่รับจากต่างประเทศ ทรงเชี่ยวชาญทั้งพุทธศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ราชนิติ และสรรพวิชาทั้งมวล อีกทั้งยังทรงพระปรีชาสามารถในการทรงพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
เมื่อจบบทสรรเสริญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงพรรณนาถึงงานพระราชพิธีโสกันต์พระอนุชา 3 พระองค์ซึ่งเป็นงานพระราชพิธีใหญ่อย่างสมพระเกียรติ
ต่อจากนั้น ผู้นิพนธ์ทรงพรรณนาพระเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐ และทรงเป็นพระเชษฐาที่ปกป้องดูแลพระญาติวงศ์ทุกพระองค์อย่างมีพระเมตตามหาศาล พระองค์ใดมีความเดือดร้อน ทรงปัดเป่าความเดือดร้อนให้ พระองค์ใดประมาทปฏิบัติราชกิจผิดพลาด ทรงสั่งสอนราวกับครูสอนลูกศิษย์ หากทำผิดพลาดครั้งหนึ่งหรือสองครั้งทรงให้อภัย หากทำผิดหลายครั้งจึงทรงลงโทษ เมื่อหลาบจำแล้วก็ทรงอุปการะตามเดิมไม่ทรงขุ่นเคืองหรืออาฆาตแค้นเลย พระมหากรุณาธิคุณนี้เผื่อแผ่ไปยังเหล่าขุนนาง พราหมณ์ สงฆ์ และประชาชนด้วย
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
พิชิตปรีชากร, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง. ชุมนุมพระนิพนธ์. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท., 2493. (หม่อมราชวงศ์หญิงรสริน คัคณางค์ พิมพ์สนองพระคุณคุณย่า หม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา)
คำสำคัญ