รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
สามก๊กอิ๋น, นิยายอิงประวัติศาสตร์
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
เรื่องสามก๊กอิ๋นเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ แสดงวิบากกรรมของตัวละครจากเรื่องไซ่ฮั่นสู่เรื่องสามก๊ก ชื่อเรื่องตรงกับฉบับภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า“สามก๊กอิ๋น” จีนกลางว่า “ซันกั๋วอิน” คำว่าอิ๋น หรือ อิน ในที่นี้แปลว่า “สาเหตุ เหตุปัจจัย” หมายถึงบุพกรรมในอดีตชาติที่ตัวละครสำคัญในเรื่องสามก๊กทำไว้เมื่อครั้งเกิดในเรื่องไซ่ฮั่น จึงต้องมาเกิดใช้ชาติเสวยวิบากกรรมที่ตนก่อไว้ สามก๊กอิ๋นแปลว่า “เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดเรื่องสามก๊ก” ผู้แต่งชื่อแซ่ใดไม่ปรากฏ แต่ใช้นามปากกาว่า “จุ้ยเย่ว์ซันเหริน” แปลว่า “คนภูเขาเมาจันทร์”
ต้นฉบับเก่าที่สุดที่จีนมีอยู่ในปัจจุบันเป็นฉบับพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้แกะสลักเมื่อพ.ศ. 2499 แต่นิยายเรื่องนี้ต้องเคยพิมพ์เผยแพร่มาก่อนหน้านี้หลายปี เพราะฉบับภาษาไทยแปลตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 2428
ความโดดเด่นของเรื่องสามก๊กอิ๋นอยู่ที่เนื้อเรื่อง ผู้แต่งสามารถเชื่อมโยงตัวละครในเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กเข้าด้วยกันว่า เพราะกรรมใดตัวละครสำคัญในเรื่องไซ่ฮั่นจึงต้องไปเกิดชดใช้กรรมนั้นในเรื่องสามก๊ก ผู้แต่งช่างหาแง่มุมของเหตุการณ์ในเรื่องทั้งสองมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันได้อย่างแยบยล สมเหตุสมผลตามกฎแห่งกรรมอย่างที่ชาวบ้านเข้าใจ เช่นเสียวโหใช้ปัญญาลวงฮั่นสินให้เข้าไปถูกพระนางหลีเฮาจับฆ่า จึงต้องเกิดเป็นเอี้ยวสิ้วคนเจ้าปัญญา แต่ถูกโจโฉซึ่งฮั่นสินกลับชาติมาเกิดสั่งฆ่าเพราะเจ้าปัญญาเกินไป ตันแผงใช้อุบายทำให้ฟ่ำแจ้งตรอมใจตายจึงมาเกิดเป็นจิวยี่ ฟ่ำแจ้งเกิดเป็นขงเบ้งใช้ปัญญาซ้อนกลจนจิวยี่รากเลือดตาย ชดใช้กรรมเก่า
เรื่องสามก๊กอิ๋นฉบับภาษาจีนไม่ได้แบ่งเป็นบทเหมือนเรื่องสามก๊ก เพราะเนื้อเรื่องสั้นมาก เรื่องนี้ผู้แต่งปรับปรุงขยายความมาจากนิทานเรื่อง “สุมาเหมาพิพากษาคดีในยมโลก” ของเฝิงเมิ่งหลง นักประพันธ์เอกสมัยราชวงศ์หมิง ความคิดเรื่องตัวละครในเรื่องไซ่ฮั่นมาเกิดใหม่ในเรื่องสามก๊กปรากฏครั้งแรกในหนังสือ “อู่ไต้สื่อผิงฮว่า” (นิทานประวัติศาสตร์ยุคห้าราชวงศ์) ซึ่งเป็นบันทึกบทสำหรับเล่านิทานเรื่องประวัติศาสตร์ยุคห้าราชวงศ์(พ.ศ. 1450 - 1503) ต่อมาในหนังสือ “สามก๊กจี่เพ่งอ่วย” (ซันกั๋วจื้อผิงฮว่า – นิทานสามก๊ก)
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข, สมเด็จ (อำนวยการแปล). “สามก๊กอิ๋น.” ใน ชิดก๊กไซ่ฮั่น. ม.ป.ท., 2545. (คณะกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช 2545)
ภาษาจีน
จุ้ยเย่ว์ซันเหริน (คนภูเขาเมาจันทร์). ซันกั๋วอิน(สามก๊กอิ๋น). ม.ป.ท., มปป.
เซียวซินเฉียว. “ซันกั๋วอิน (สามก๊กอิ๋น).” ใน จงกั๋วกู่ไต้เสี่ยวซัวไป่เคอเฉวียนซู (สารานุกรมนิยายยุคเก่าของจีน). สำนักพิมพ์สารานุกรมจีน, ม.ป.ป., หน้า 435.
คำสำคัญ
หมายเหตุ
นามปากกา “จุ้ยเย่ว์ซันเหริน” /สามก๊กอิ๋นฉบับภาษาไทย พระยาพิศลสมบัติบริบูรณ์ (โต ตัณฑเศรษฐี) แปลเมื่อ พ.ศ. 2428