รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
นางแก้วเป็นชาวบ้านเมืองมิถิลา เหตุที่นางมีชื่อเช่นนี้เพราะก่อนตั้งครรภ์ผู้เป็นมารดาได้ฝันว่าเทวดานำแก้วมาให้ พอให้กำเนิดบุตรสาวเลยตั้งชื่อว่า “แก้ว” แต่เนื่องจากใบหน้าเหมือนม้า ชาวบ้านเรียกว่า นางแก้วหน้าม้า ส่วนพระพินทองโอรสท้าวมงคลราชกับนางมณฑา
วันหนึ่งพระพินทองทรงว่าวกับพี่เลี้ยงแล้วว่าวขาดลอยไป นางแก้วเก็บได้ เมื่อเห็นพระพินทองก็หลงรักยอมคืนว่าวให้โดยมีข้อแม้ว่าพระพินทองจะต้องกลับมารับนางเข้าวังไปเป็นพระมเหสี แต่รอแล้วรอเล่าก็ไม่มีวี่แววจะมีขบวนมารับนางเข้าวัง จึงทวงถามสร้างความไม่พอใจให้แก่ท้าวมงคลราชเป็นอย่างมาก พระองค์จึงออกอุบายให้นางไปชะลอเขาพระสุเมรุมาถวายหากทำได้จะอภิเษกให้ นางดั้นด้นไปชะลอเขาพระสุเมรุมาถวายได้สำเร็จเนื่องจากพระฤษีตนหนึ่งได้มอบของวิเศษคือเรือเหาะและสิ่วสำหรับขุดเขาพระสุเมรุ อีกทั้งสามารถถอดหน้าม้าและกลับกลายเป็นสาวงาม แต่พระพินทองยังปฏิเสธพร้อมทูลขอพระบิดาให้ส่งพระราชสาส์นไปขอพระธิดาต่างเมือง เมื่อนางแก้วไปทวงสัญญาอีกครั้ง พระพินทองก็ยื่นเงื่อนไขอีกครั้งคือให้นางหาโอรสที่เกิดขึ้นจากพระองค์มาถวาย นางจึงตามพระพินทองไปยังเมืองโรมวิถีและถอดหน้าม้าออก ทำให้พระพินทองหลงรักนางแก้วทั้งสองลักลอบมีสัมพันธ์กันจนนางแก้วตั้งครรภ์ ก่อนพระพินทองเดินทางกลับเมืองมิถิลาได้มอบพระภูษาและแหวนให้ดูต่างหน้า หลังจากนางคลอดพระโอรสก็ติดตามพระพินทองมาที่เมืองมิถิลา และทราบจากพระฤษีว่าพระพินทองอยู่ในอันตรายจึงไปช่วยอีกครั้ง พระพินทองกลับไปยังเมืองมิถิลาแล้วนางแก้วได้พาพระโอรสพร้อมแหวนของพระพินทองมาถวาย ตอนแรกพระพินทองไม่เชื่อแต่จำนนด้วยหลักฐาน ทั้งได้นับการยืนยันจากนางสร้อยสุวรรณและนางจันทร จึงจัดงานอภิเษกให้นางแก้ว
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ภูวเนตรนรินทรฤทธิ์, กรมหลวง. บทละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้า. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2544.
คำสำคัญ
มิถิลา , ท้าวพินทอง , แก้ว , นางแก้ว , แก้วหน้าม้า , ท้าวมงคลราช , นางมณฑา , อีโต้ , ชะลอเขาพระสุเมรุ , พร้าวิเศษ , นางทัศมาลี , เมืองโรมวีถี , นางสร้อยสุวรรณ , นางจันทร , ท้าวพาลราช