รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
โคลงบทนี้ที่มาของเนื้อหาว่าเป็นคำสอนของพระร่วง ผู้เป็นกษัตริย์ครองกรุงสุโขทัยแต่กาลก่อน แต่มิได้หมายความว่าพระร่วง (คืออดีตกษัตริย์ผู้ครองสุโขทัยแต่ก่อนนั้นดังที่ส่วนมากเข้าใจกัน) เป็นผู้ทรงนิพนธ์ขึ้นไว้เอง เพราะสันนิษฐานจากชื่อเรียก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตั้งข้อสังเกตว่า เนื้อความของสุภาษิตพระร่วงฉบับสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงชำระนี้ เป็นคำสุภาษิตที่คนไทยหรือชนชาติไทยชอบพูดกันทั่วไปมาแต่โบราณ “ครั้งพระร่วง” จริง แต่แตกต่างจากภาษิตที่ชาวไทยล้านนาหรือล้านช้างอยู่ไม่น้อย ไม่น่าจะใช่ “คำ” ของพระร่วงองค์ใดองค์หนึ่งอย่างที่คิดกัน
ประเสริฐ ณ นคร เสนอว่าหลักฐานจากจารึกหลักที่ 2 และ 38 และวรรณคดีครั้งอยุธยาตอนต้น เช่น ลิลิตยวนพ่าย มิได้ขานพระนามกษัตริย์สุโขทัยว่า “พระร่วง” เลย การใช้คำว่าพระร่วงเป็นพระนามกษัตริย์และราชวงศ์ ดังปรากฏในชื่อของสุภาษิต น่าจะเกิดภายหลังรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงหลายร้อยปี หลักฐานเก่าที่สุดที่พอจะประมาณอายุของคำ “พระร่วง” ได้ก็คือ โคลงประดิษฐพระร่วงในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งลำดับเนื้อความตรงกับสุภาษิตพระร่วงฉบับสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสค่อนข้างมาก อาจเป็นฉบับหลักที่ทรงใช้ในการชำระก็เป็นได้ และอย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่าขนบการประมวลสุภาษิตทั่วไปมาร้อยเรียงและแต่งขยายความ โดยอ้างโยงถึงตำนานพระร่วงมีมาแล้วแต่ครั้งปลายอยุธยา ส่วนหนึ่งที่เรียกกันว่าสุภาษิตพระร่วงนั้นควรนับได้ว่าเป็นผลงานพระนิพนธ์ในสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ศิลปากร, กรม. สุภาษิตพระร่วงและสุภาษิตอิศรญาณ. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า, 2529.
เกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัย. สรรนิพนธ์ประเสริฐ ณ นคร. กรุงเทพฯ : ชนนิยม, 2541.
คำสำคัญ