รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
โคลงดั้นวิวิธมาลี , โคลงสี่สุภาพ
เนื้อเรื่องย่อ
พระราชนิพนธ์พรรณนาความวิจิตรงดงามของพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วยพระมหาปราสาทราชมนเทียร ท้องพระคลัง พระราชอุทยาน ตำหนักเรือนหลวง และข้าราชสำนักซึ่งพำนักอยู่ด้วยความสุขสำราญถ้วนหน้า แล้วจึงบรรยายความที่เป็นพระราชดำริให้จัดการแห่โสกันต์เพื่อเป็นแบบอย่างสืบไป พระราชพิธีโสกันต์เริ่มด้วยวันแรกเวลาเย็นแต่งพระองค์เจ้านายสำหรับเข้าพระราชพิธีโสกันต์เสร็จแล้ว เชื้อพระวงศ์รับพระกรสู่เกยประทับพระเสลี่ยงในกระบวนแห่ซึ่งเป็นกระบวนอิสริยยศ ทรงอธิบายเกี่ยวกับผู้เข้ากระบวน เครื่องดนตรีที่บรรเลง การแต่งกายและอาวุธประจำตัว ต่อจากกระบวนแต่งกายเป็นชนต่างภาษาแล้ว ถึงกระบวนแต่งเป็นตำรวจ กระบวนเครื่องประโคม พระราชยานเสลี่ยงกงและคู่เคียงตามด้วยนางเชิญเครื่อง คุณเถ้าแก่ (คุณพนักงานฝ่ายในที่เป็นผู้ใหญ่) ตามด้วยกระบวนการละเล่นของหลวง ได้แก่ โมงครุ่ม กระอั้วแทงควาย แทงวิไสย
เมื่อกระบวนแห่โสกันต์ถึงเกยเทียบพระราชยานมีนางรับพระกรเจ้านายที่โสกันต์ไปยังมณฑลพิธีสงฆ์ จนพิธีสวดมนต์จบตั้งกระบวนแห่กลับ การแห่เจ้านายที่จะโสกันต์มาฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์เช่นนี้ ทำอยู่ 3 วัน จึงมีพิธีโสกันต์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แล้วเสด็จไปยังที่สรง จากนั้นจึงเปลี่ยนเครื่องทรงไปถวายเครื่องบริขารแก่พระสงฆ์ แล้วแห่กลับไปในการพิธีสมโภชที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เสร็จแล้วกลับออกมาแจกเงินแก่ท้าวนางและพนักงานทั้งปวงที่ปฏิบัติงานในพระราชพิธี
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. โคลงดั้นเรื่องโสกันต์. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2465. (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศรโปรดให้พิมพ์เมื่อปีจอ พ.ศ.2465)
คำสำคัญ