รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
นิราศหนองคายเริ่มต้นด้วยการเล่าเหตุที่เป็นที่มาของการแต่งนิราศเรื่องนี้ คือ การเดินทางไปราชการทัพเพราะเกิดฮ่อมาก่อศึกกับชาวลาวที่เวียงจันทน์ เจ้าเมืองต่างๆ ด้านตะวันออกจึงมีหนังสือบอกลงมายังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เชิญสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มาปรึกษาแล้วเห็นควรให้เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเป็นแม่ทัพยกไปทัพหนึ่ง หลวงพัฒนพงศ์ภักดีลาครอบครัวมารวมพลที่บ้านเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ซึ่งในนิราศเรียกว่าเจ้าคุณแม่ทัพ ขณะนั้นกำลังขนเสบียงเครื่องใช้อาวุธเครื่องรบ รวมทั้งได้ทำแหวนเพชรเตรียมไปด้วย 11 วง เพื่อแจกเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้ทำศึกด้วยความกล้าหาญด้วย
ในการนี้เจ้าคุณแม่ทัพได้อัญเชิญพระบรมทนต์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปด้วย ซึ่งเจ้าคุณแม่ทัพได้บูชาและสดัปกรณ์ถวายในโอกาสต่าง ๆ ตลอดทาง ก่อนเคลื่อนทัพมีพิธีอาบน้ำพระพุทธมนต์ และเหยียบไม้ข่มนามของศัตรู
ผู้แต่งนิราศได้เล่าเรื่องราวที่เป็นวิถีชีวิตชาวเมืองโคราชและเหตุการณ์ที่ไพร่พลคบหากับชาวเมืองเกิดคดีความต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการรักใคร่กันมีมากเป็นพิเศษ เวลาล่วงต่อมาอีก 1 เดือน มีผู้เชิญสารตรามาพร้อมกับดอกไม้ไฟ กรวด ดินปืน สั่งให้รีบยกทัพไปรบฮ่อที่เมืองพวน เมืองสุยเชียงขวาง เมื่อได้รับคำสั่งเจ้าคุณแม่ทัพได้ส่งคนไปสำรวจเส้นทางที่มีน้ำเพียงพอแก่ไพร่พลเสียก่อน พบว่าทางเมืองพิมายมีน้ำท่าดีกว่าจึงให้ยกทัพไปทางนั้น เมื่อกองทัพถึงสระธรรมขันธ์ มีหนังสือจากเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธ์ ที่สมุหนายก) ซึ่งเป็นแม่ทัพยกขึ้นไปทางเมืองอุตรดิตถ์ แจ้งข่าวศึกเรื่องการรบฮ่อที่รับผิดชอบอยู่ว่าพวกฮ่อขอหย่าทัพกลับไปเมืองพวน ได้ยกทัพตามไปซ้ำเติมแล้วมีชาวเมืองพวนอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเข้าทางเมืองหนองคายจำนวนมาก ได้ควบคุมไว้ที่ด่านเห็นสมควรอย่างไรขอให้สั่งการลงไป การกลับมาตั้งทัพที่เมืองโคราชครั้งหลังเป็นการรอคอยที่ไพร่พลกระวนกระวายใจมากเพราะหากนับเวลาจากที่ออกเดินทัพจากกรุงเทพฯ เป็นเวลาถึงหกเดือนต่อมาได้มีท้องตรามาถึงแม่ทัพอีก สั่งให้ยกทัพกลับคืนพระนครโดยให้แบ่งกำลังส่วนหนึ่งพร้อมอาวุธและเสบียง ไปประจำที่เมืองพวนและเมืองหนองคาย เจ้าคุณแม่ทัพได้นำกำลังส่วนที่เหลือกลับกรุงเทพฯ โดยหลีกเส้นทางดงพระยาไฟหรือดงพระยาเย็นเพราะมีไข้ป่าชุกชุม กองทัพเคลื่อนพลถึงศาลาท่าสมเด็จ ต้องตั้งทัพคอยเรือหลวงอยู่จนพ้นเทศกาลสงกรานต์จึงมีเรือมารับไพร่พลออกเดินทางต่อถึงวังจันทเกษม แล้วให้หากรมการเมืองมาแจ้งเรื่องกองทัพกลับพระนครตามแบบราชการทัพโบราณ จึงออกเดินทางต่อกลับมาถึงกรุงเทพฯ เวลาเย็น รวมเวลาไปราชการทัพเจ็ดเดือน
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
พัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์), หลวง. นิราศหนองคาย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชจำกัด, 2544.
คำสำคัญ