รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ชื่อเรื่องอื่น
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
กล่าวถึงหม่อมสุดว่าเป็นหม่อมห้ามในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากกรมพระราชวังบวรฯ เสด็จสวรรคต หม่อมสุดได้เข้ามารับราชการเป็นนางห้ามอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาจึงชวนหม่อมขำ ซึ่งเป็นหม่อมห้ามที่รักใคร่สนิทสนมกันให้เข้ามารับราชการอยู่ในพระบรมมหาราชวังด้วยกัน โดยได้มาเป็นนางข้าหลวงประจำอยู่ ณ พระตำหนักใหญ่ของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ และได้กลายเป็นคนโปรดในเวลาต่อมา
หม่อมขำเป็นสตรีหน้าตาดี รักสวยรักงาม แต่ฟันหักหลายซี่จนต้องใส่ฟันเทียมที่ทำด้วยกะลา ทำให้ยังดูอ่อนวัย หม่อมสุดที่เล่นเพื่อนเป็นผู้ชายจึงทั้งรักและหลง เฝ้าเวียนไปมาหาสู่ทุกคืน ความที่เป็นคนเฉลียวฉลาด ความรู้ดี อ่านหนังสือคล่อง แต่งกาพย์กลอนได้ หม่อมสุดจึงมีหน้าที่อ่านพระราชนิพนธ์ถวายก่อนทรงพระบรรทม คืนหนึ่งทั้งสองสำคัญผิดคิดว่าทรงพระบรรทมหลับแล้ว ทั้งหม่อมสุดและหม่อมขำจึงห่มเพลาะคลุมโปงเล่นเพื่อนกัน กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพจึงตรัสเรียกหม่อมสุดว่า “คุณโม่ง” ตั้งแต่นั้นมา ส่วนหม่อมขำนั้น กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพตรัสเรียกว่า “หม่อมเป็ด” เพราะมีกิริยาท่าทางเดินโยกย้ายเหมือนเป็ด
นอกจากพฤติกรรมเล่นเพื่อนแล้ว บางครั้งหม่อมเป็ดก็มีพฤติกรรมอื่นๆ ที่น่ารังเกียจ น่าขบขัน จึงเป็นที่เล่าขาน และนำมาขับเสภาล้อเลียนกันในราชสำนักจนหม่อมเป็ดโกรธ เพราะเข้าใจว่าคนขับเสภาตั้งใจค่อนขอดให้ตนได้อาย พฤติกรรมด้านลบของหม่อมเป็ดดังกล่าว เช่น กินอาหารมากเกินไปจนไฟธาตุไม่ย่อยทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย อุจจาระราด หรือเมื่อจะกินผลบัวคั่วก็ต้องใส่ตะบันหมาก ตะบันจนละเอียดเพราะฟันไม่ดี บางครั้งหิวมาก ๆ จนตาลายก็หยิบเกลือสินเธาว์ซึ่งมีไว้สำหรับปรุงยามาอมเพราะคิดว่าเป็นขัณฑสกร หรือบางครั้งก็พูดมากจนลิ้นดันฟันกะลาหลุดต่อหน้าผู้อื่น เป็นต้น
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ศิลปากร, กรม. กลอนเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ และพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ. พระนคร : กรมศิลปากร, 2507.
คำสำคัญ