รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
เนื้อเรื่องพรรณนาความถึงสิ่งที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง พร้อมกับเชื่อมโยงกับความรักความผูกพันและความรำลึกถึงนางผู้เป็นที่รักที่ต้องพรากจากมา บทเห่เรือนี้แบ่งออกเป็น 4 ตอน
ตอนที่ 1 บทเห่ชมสวน เริ่มต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท ตามด้วยกาพย์ยานี 19 บท กล่าวถึงเรือที่แล่นเลื่อนเข้าไปในอุทยาน กวีชมความงามของไม้ดอกนานาพรรณ เช่น นางแย้ม รสสุคนธ์ สาวหยุด เป็นต้น อันทำให้หวนคิดถึงนางที่รักที่ต้องพลัดพรากกัน
ตอนที่ 2 บทเห่ชมนก เริ่มต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท ตามด้วยกาพย์ยานี 8 บท กล่าวถึงนกชนิดต่างๆ ที่ได้พบเห็น เช่น โนรี แก้ว สัตวา เป็นต้น อันทำให้นึกถึงเมื่อครั้งกวีเคยอยู่ร่วมกับนางที่รัก
ตอนที่ 3 บทเห่ชมไม้ เริ่มต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท ตามด้วยกาพย์ยานี 10 บท กล่าวถึงไม้ต่างๆ เช่น สลัดได สท้อน ศุกกรม เป็นต้น โดยเชื่อมโยงความคิดกับความรักและความคิดถึงนาง
ตอนที่ 4 บทเห่ชมโฉม เริ่มต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท ตามด้วยกาพย์ยานี 10 บท พรรณนาความงามของนางที่กวีพึงใจรักโดยพรรณนาไปทีละส่วน ตั้งแต่ใบหน้าลงจดเท้า รวมถึงเสียงพูดที่ไพเราะของนางด้วย กวีมีความหวังที่จะได้ครองรักกับนางในวันข้างหน้า
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. “กาพย์เห่เรือ พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” ใน ประชุมกาพย์เห่เรือ. พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา, 2504.
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ : พระประวัติและบทร้อยกรอง. พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร, 2505. (พิมพ์ในการพระราชทานเพลิงศพพระยาเลขวณิชธรรมวิทักษ์ฯ เปี่ยม เลขะวณิช ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 29 มีนาคม 2505)
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. “อธิบายตำนานเห่เรือ.” ใน ประชุมกาพย์เห่เรือ. พระนคร : องค์การค้าของคุรุสภา, 2504.
คำสำคัญ