TLD-001-291
อนิรุทธ์คำฉันท์
ฉันท์
กาพย์ฉบัง , กาพย์สุรางคนางค์
พระอนิรุทธิ์ทูลลาพระกฤษณะผู้เป็นอัยกา และลาสาวสนม ก่อนออกจากเมืองทวารพดีไปล่าสัตว์ในป่า ครั้นค่ำลงก็ประทับพักใต้ร่มไทร พระไทรมีความเอ็นดูจึงอุ้มไปสมนางอุษาธิดาเจ้ากรุงพาณที่โสณินคร แล้วพากลับก่อนรุ่งสาง นางอุษาตื่นบรรทมมีความโศกเศร้า จึงสั่งนางพิจิตรเลขาพี่เลี้ยงให้วาดรูปหาตัวผู้มาสมนาง ครั้นพบว่าเป็นพระอนิรุทธิ์ ก็ให้นางพี่เลี้ยงเหาะไปลอบรับมาหาอยู่ร่วมกันในตำหนัก ต่อมามีผู้รู้และเกิดข่าวลือออกไป กรุงพาณหรือพาณาสูรราชบิดาทราบเรื่องก็กริ้ว จึงจัดขบวนทัพมารบ แผลงศรนาคได้ชัยชนะ จึงจับพระอนิรุทธิ์มัดประจานไว้หน้าพระลาน พอดีพระนารทฤาษีดีดพิณพลางเหาะผ่านมาเห็นเข้า ก็รีบไปบอกแก่พระกฤษณะ พระกฤษณะจึงมีโองการประชุมพล หาพระปรัทยุมน์และพลเทพมาพร้อม เสด็จด้วยพาหนะครุฑไปยังโสณินคร นาคที่รัดพระอนิรุทธิ์ทนฤทธิ์ครุฑไม่ได้ จึงคลายขนดหนีไป ฝ่ายกรุงพาณมีพระเพลิงและพระอังคีรสเป็นกองหน้า ออกสู้รบก็พ่ายแพ้ พาณาสูรจึงรีบไปฟ้องพระอิศวรให้เสด็จมาช่วยพร้อมทั้งขันทกุมารและพระวิฆเนศวร์ สองฝ่ายต่อสู้กันก้ำกึ่ง ไม่แพ้ชนะแก่กัน พระอิศวรคิดจะลืมพระเนตรที่สาม แต่เทวดาและฤาษีพากันขอร้องให้ทรงยับยั้ง เพราะเกรงโลกทั้งสามจะพินาศ พาณาสูรจึงเข้าสู้รบด้วยตนเอง ถูกพระกฤษณะจับได้แล้วตัดกรทั้งพันให้เหลือเพียงสอง พระอิศวรทรงขอชีวิตไว้ให้เป็นทวารบาล พระกฤษณะจึงอนุโลมตาม แล้วพาพระอนิรุทธิ์ นางอุษา ขึ้นทรงครุฑร่วมกับพระองค์และพระปรัทยุมน์ กลับคืนสู่เมืองไลยบุรี (น่าจะเป็นเมืองทวารพดีของพระกฤษณะนั้นเอง)
ศิลปากร, กรม. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2545.
พระอนิรุทธ์ , นางอุษา , พระกฤษณะ , เมืองทวารพดี , เทวดาอุ้มสม , แผลงศรนาค , พระอิศวร , ครุฑ
Copyright © 2015 ฐานข้อมูลนามานุกรมวรรณคดีไทย : Thai Literature Directory