รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีนิทาน แต่งเป็นกลอน สันนิษฐานว่าน่าจะได้ใช้ขับเล่าเรื่องด้วยทำนองร้องต่าง ๆ โดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในกฎหมายตราสามดวงมีข้อความระบุถึงพระราชานุกิจว่า “หกทุ่มเบิกเสภาดนตรี” แสดงว่าการเล่าเรื่องด้วยการขับร้องมีมานานแล้ว และกรับที่ใช้ประกอบการขับนั้น ก็น่าจะเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ดั้งเดิมที่แพร่มาแต่อินเดียหรือตะวันออกกลางพร้อม ๆ กับการเล่านิทานเรื่องรามเกียรติ์
เนื้อเรื่องขุนช้างขุนแผนแปลกกว่านิทานพื้นบ้านทั่วไป เนื่องจากเป็นเรื่องรักสามเส้าแบบสมจริงของคนธรรมดา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรื่องของคนที่มีชีวิตอยู่จริงในราวสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แต่มีผู้นำมาเล่าสืบกันมาอย่างนิยายและเป็นที่นิยมกันแพร่หลายจนกระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้กวีหลายท่านช่วยกันแต่งต่อเติมขึ้นเป็นฉบับหลวง และทรงพระราชนิพนธ์เองบางตอน เช่น ตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิมถึงตอนแต่งงาน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างถึงเข้าห้องนางแก้วกิริยา นางวันทองทะเลาะกับลาวทอง และเท่าที่รู้จากตำนานหรือสันนิษฐานได้จากสำนวน บางตอนโปรดเกล้าฯ ให้ผู้อื่นแต่ง เช่น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ตอนขุนช้างขอนางพิม และขุนแผนพานางวันทองหนี ส่วนสุนทรภู่แต่งตอนกำเนิดพลายงาม เป็นต้น ในระยะเดียวกันนั้นกวีเชลยศักดิ์ก็แต่งและขับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นมหรสพชาวบ้านกันทั่วไป แต่มักมิได้จดฉบับลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างฉบับหลวง
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ศิลปากร, กรม. ขุนช้างขุนแผน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของครุสภา, 2532.
คำสำคัญ
พลายงาม , ขุนแผน , จมื่นไวยวรนารถ , ขุนช้าง , ขุนศรีวิชัย , นางเทพทอง , ขุนไกรพลพ่าย , นางทองประศรี , พัศรโยธา , นางศรีประจัน , นางพิม , พิมพิลาไลย , นางวันทอง , สมภารบุญ , เจ้าเมืองเชียงใหม่ , นางลาวทอง , นางแก้วกิริยา