รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
ขุนวิสูตรเสนี (จาง) , ขุนพินิจจัย (อยู่) , หลวงบรรหารอรรถคดี (สุด) , หม่อมราชวงศ์หนู , พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) , ขุนท่องสื่อ (ช่วง) , หลวงสโมสรพลการ (ทัด ศิริสัมพันธ์) , หลวงจักรปาณี , พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น ศรีเพ็ญ) , หลวงพิศณุเสนี (ทองอยู่) , หลวงเสนีพิทักษ์ (อ่วม)
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
เสภาอาบูหะซันเป็นวรรณคดีที่แต่งสืบเนื่องจากลิลิตนิทราชาคริตซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อพ.ศ. 2421 ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ขอแรงกวีในสมัยนั้นให้ช่วยกันเก็บเนื้อเรื่องไปแต่งเป็นเสภาสำหรับขับถวายเวลาทรงเครื่องใหญ่ อย่างเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขอแรงกวีช่วยกันแต่งเสภาเรื่องพระราชพงศาวดารถวายในรัชกาลที่ 4 เรื่องนี้มีทั้งสิ้น 11 ตอน แต่สูญหายไปหลายตอน กรรมการราชบัณฑิตยสภาได้พยายามสืบหาแต่ก็ได้มาเพียง 5 ตอนแรกดังนี้
ตอนที่ 1 เริ่มเรื่องด้วยบทสรรเสริญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเล่าเรื่องนิทราชาคริตตั้งแต่เริ่มไปจนถึงเมื่อกาหลิบวางยาอาบูหะซันแล้วพาเข้าไปในวัง
ตอนที่ 2 เล่าเรื่องตั้งแต่อาบูหะซันเข้าไปอยู่ในวัง ได้ลงโทษและให้รางวัลผู้คนตามที่ตนต้องการไปจนถึงตอนที่อาบูหะซันเพลิดเพลินกับเหล่านางกำนัล ตอนที่ 3 กาหลิบวางยาอาบูหะซันแล้วพากลับไปส่งบ้าน
ตอนที่ 4 เล่าเรื่องตั้งแต่เมื่ออาบูหะซันฟื้นขึ้นที่บ้านของตน และไม่ยอมเชื่อว่าตนมิใช่กาหลิบ ได้เข้าทำร้ายมารดาจนถูกจับไปลงโทษ ไปจนถึงตอนที่อาบูหะซันสำนึกได้
ตอนที่ 5 เล่าเรื่องต่อเมื่ออาบูหะซันพบกาหลิบอีกครั้ง ไปจนถึงตอนที่อาบูหะซันถูกวางยาแล้วพาเข้าไปในวังเป็นครั้งที่สอง
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
เสภาเรื่องอาบูหะซันแต่งโดยกระแสรับสั่งเมื่อในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2510. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพันโทขาบ นิลกุล ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 28 มกราคม 2510)
คำสำคัญ