รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ชื่อเรื่องอื่น
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
ไกรทองเป็นวรรณคดีประเภทบทละคร ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงแสดงความเห็นไว้ในคำนำเมื่อพิมพ์เรื่องนี้ว่า “เป็นสำนวนแต่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ แต่งดีหนักหนา” ไกรทองสำนวนนี้ไม่เก่าถึงสมัยอยุธยา แต่มีมาก่อนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอก เนื้อเรื่องแบ่งเป็น 3 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ชาลวันได้นางตะเภาทอง ตอนที่ 2 ไกรทองรบกับชาลวัน ตอนที่ 3 ไกรทองได้นางตะเภาแก้ว ตะเภาทองและนางวิมาลา
เรื่องไกรทองสำนวนนี้กระบวนภาษาเป็นกลอนละครนอก มีการใช้ภาษาแบบตลาด เป็นต้นว่า ตอนนางวิมาลาและนางเลื่อมลายวรรณเห็นชาลวันนอนอยู่กับนางตะเภาทองก็หึงหวง “คิดแค้นแน่นจิตต์ริษยา นึกด่ากระซิบอีฉิบหาย” มีการทะเลาะวิวาทด่าทอด้วยคำหยาบ
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
บทละครเรื่องไกรทอง. กรุงเทพฯ: โสภณพิพรรฒธนากร, 2472. พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพท้าวศรีสุนทรนาฏ (แก้ว พนมวัน ณ อยุธยา) เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2473.
คำสำคัญ
ไกรทอง , ชาลวัน , ตะเภาแก้ว , ตะเภาทอง , วิมาลา , เลื่อมลายวรรณ , ท้าวรำไพ , ท้าวโคจร , พิจิตร , นนทบุรี , จระเข้ , คาถา , เขี้ยวแก้วกายสิทธิ์