รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
นิราศชมตลาดกล่าวถึงการเดินทางของกวีจากบ้านผ่านสะพานถ่าน (คลองหลอดวัดราชบพิธ) ไปถึงบ้านญวน กวีรำพันถึงความทุกข์ของตนที่ต้องตกยากจนต้องไปขอพึ่งกัปตันสรชิต จากนั้นกวีผ่านสะพานทวาเรศ ไปสำเพ็ง ตัดออกตรอกถัง วัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร) วัดปทุมคงคา (วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร) ตรอกโรงรองเท้า วัดญวณ (วัดอุภัยราชบำรุง) ตรอกเต๊า วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร) สะพานเหล็ก โรงหวย คุกใหม่ (เรือนจำคลองเปรม) ถนนบำรุงเมือง วัดสุทัศน์ (วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร) และไปถึงโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
“นิราศชมตลาด,” ใน ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมจากวรรณคดี กวีสยามนำเที่ยวกรุงเทพฯ, หน้า 395-422. กรุงเทพฯ : มติชน, 2545.
คำสำคัญ
หมายเหตุ
นิราศชมตลาดเป็นวรรณคดีบันทึกการเดินทาง แต่งด้วยกลอนนิราศ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและสมัยที่แต่ง ในต้นฉบับซึ่งพิมพ์โดยโรงพิมพ์ห้างสมุดเมื่อ พ.ศ. 2470 กล่าวว่าผู้แต่งคือสุนทรภู่ แต่ ส. พลายน้อย เห็นว่าสำนวนโวหารที่ใช้ไม่ใช่ของสุนทรภู่ อีกทั้งสถานที่ที่กล่าวถึงในเรื่องก็ล้วนอยู่ในราวสมัยรัชกาลที่ 4-5 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากสุนทรภู่ถึงแก่กรรมไปแล้ว (เมื่อต้นรัชกาลที่ 4) นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาจากคำประพันธ์ตอนหนึ่งที่ว่า “เหมือนชุบให้นายชื่นคืนชีวัน” จึงสันนิษฐานว่าผู้แต่งคือ “นายชื่น” ผู้ดีตกยากซึ่งเกิดที่ตรอกดินสอ ใกล้โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า