รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
ตำราโรคนิทานกล่าวถึงธาตุต่างๆ ในร่างกาย สาเหตุการเกิดโรค และวิธีรักษาเรียงไปตามลำดับ ตั้งแต่โรคที่เกิดที่เกศา (เส้นผม) โลมา (ขน) นักขา (เล็บ) ทันตา (ฟัน) ตะโจ (ผิวหนัง) มังษะ (เนื้อ) ณะหารู (เส้นเอ็น) เส้นปัตฆาฏ (เส้นเอ็น หรือกล้ามเนื้อ) กล่อนเส้น (เส้นเอ็นเสื่อม) กล่าวเส้นสิบ อัฐิ (กระดูก) อัฐิมิญ์ชัง (เยื่อในกระดูก) มัต์ตถลุงคัง (มันสมอง) วักกัง (ม้าม) หัทยัง (หัวใจ) ยะกะนัง (ตับ) กิโลมังกะ (พังผืด) ปิหะกัง (ไต) ปับผาสัง (ปอด) อันตัง (ลำไส้ใหญ่) อันตะคุณัง (กระเพาะอาหาร) อุท์ทริยัง (ลำไส้) กะรีสัง (อุจจาระ) ปีตัง (ดี) เสมหะ บุพโพ (น้ำเหลือง) และโลหิต (เลือด)
ในการรักษาโรค กวีอธิบายขั้นตอนและวิธีการปรุงยาอย่างละเอียด ตัวยาที่ใช้ส่วนมากเป็นสมุนไพรไทยที่หาได้ง่ายในสมัยนั้น เช่น เมื่อเป็นโรครำมะนาด ให้นำเปลือกสารภี พิกุล เปลือกกล้วยป่า และตะเคียนมาต้มให้สุก ใส่เกลือให้ออกรสเค็ม ใช้อมเพื่อบรรเทาอาการ หากเป็นโรคกลาก ให้นำกระเทียมตำผสมกับน้ำมะขามเปียกในปริมาณเท่ากัน ใส่ผงรากทองพันชั่งให้ตัวยาข้นขึ้น นำไปตากแดด แล้วพอกบริเวณที่เป็นโรค
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม). ตำราโรคนิทาน. พระนคร : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, 2456.
คำสำคัญ