รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
ตำราลักษณะช้างคำโคลงกล่าวถึงช้างวิเศษตระกูลต่างๆ ได้แก่ คิรีเมฆและช้างเอราวัณ ช้างสิบหมู่ในป่าหิมพานต์ ได้แก่ ฉัททันต์กายสีเงินมีกำลังมาก อุโบสถตระกูลกายสีทอง เหมหัตถีกายสีเหลือง อัญชันกายสีม่วง คันธหัตถีกายมีกลิ่นหอม ปิงคลหัตถีสีเลื่อม ดามพะหัตถีมีฤทธิ์ปราบศัตรูในสงคราม บัณฑระกายสีเงิน คังไคยกายดุจสีน้ำ ช้างอัฏฐทิศ 8 เชือก ได้แก่ ช้างไอราพตอยู่ทิศบูรพา ช้างบุณฑริกอยู่ทิศอาคเนย์ ช้างกระมุทอยู่ทิศหรดี ช้างอัญชันอยู่ทิศประจิม ช้างบุษปทันต์อยู่ทิศพายัพ สารวโภคอยู่ทิศอุดร สุบดิษอยู่ทิศอิสาน
ลักษณะของช้างมงคล 8 จำพวก คือ สังขทันต์ ดามพะ พลุกสดำ โคบุตร ลักษณะของช้าง เช่น อ้อมจักรวาฬ กาละกะหัตถี จุมปราสาท พระพัทจักรพาฬ ปทุมหัตถี ประทุมทันต์ นิลทันต์ นิลนัขะ เหมทันต์ เหมนัข รัตจักษุ รัตนัข เทพคีรี จันทะคีรี สูวโรช กำแพงถนิม สมโพงถนิม จุมปราสาท จัตรกุมพะ พิธาเนสูร มุขษโรพัทร จากนั้นกล่าวถึงช้างที่กำเนิดจากช้างประจำทิศทั้ง 8 ที่มีฤทธิ์และลักษณะแตกต่างๆกัน เช่น ช้างอำนวย กายสีนิลเป็นมงคลกับกองทัพ เป็นต้น
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ตำราช้างภาคที่ 1. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2481. (พระยาสัจจาภิรมย์(สรวง ศรีเพ็ญ)พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงชำนาญธนสาธน์(กรี คชนันท์) ที่เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481)
คำสำคัญ
หมายเหตุ
ตำราลักษณะช้างคำโคลงเป็นวรรณคดีประเภทตำรา แต่งด้วยโคลงสี่จำนวน 125 บท ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่พบบานแผนกว่าคัดลอกใน จ.ศ. 1144 (พ.ศ. 2325) ซึ่งเป็นปีแรกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์