รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
กาพย์ฉบัง , ความเรียง , โคลงสี่สุภาพ
เนื้อเรื่องย่อ
ตำราสร้างพระพุทธรูปแบ่งเนื้อหาเป็นสามตอนคือ ส่วนต้นเป็น คาถานมัสการแต่งเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ส่วนที่สองแต่งด้วยกาพย์ฉบังนมัสการพระพุทธเจ้า 9 บท บูชาเหล่าเทวดา 11 บท ไหว้ครูช่างครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจำนวน 6 บท บทไหว้ครูช่างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ 46 บท เช่น ขุนเทพ พระยาชำนิรจนา หลวงวิจิตรเจษฏา หรือตามี เป็นต้น และมีโคลงสี่สุภาพจบท้ายหนึ่งบท
ส่วนสุดท้ายเป็นร้อยแก้วกล่าวถึงตำราการปั้นพระพุทธรูป วิธีการผสมน้ำมันและสูตรการผสมโลหะต่างๆ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงประทานคำอธิบายเพิ่มเติมว่าชื่อครูช่างในสมัยรัตนโกสินทร์ในเรื่องนั้นเป็นช่างฝีมือที่มีชีวิตอยู่จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 หลายคน แต่สาเหตุที่มีการอ้างถึงจำกัดอาจเป็นเพราะส่วนใหญ่เป็นการอ้างถึงช่างอาวุโส ส่วนช่างที่แม้จะมีฝีมือดี แต่อายุน้อยหรือใกล้เคียงกันกับผู้แต่งก็ไม่ปรากฏนามหรือกล่าวอ้างถึง
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ตำราสร้างพระพุทธรูป. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2463.(รองอำมาตย์โท ขุนสิทธิคดี(ปลั่ง คทวณิช)พิมพ์แจกในการปลงศพสนองคุณ หลวงเปรื่องคดีราษฎร์ (หริ่ง คทวณิช) ผู้บิดา ปีวอก พ.ศ. 2463)
คำสำคัญ
หมายเหตุ
ตำราสร้างพระพุทธรูปไม่ปรากฏนามผู้แต่งและสมัยที่แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า “เปนตำราเก่า แต่งเมื่อในรัชกาลที่ 3 เจ้าของตำราเดิมเปนช่างหลวง แต่จะชื่อไร แลเปนตำแหน่งในกรมใดหาได้บอกไว้ไม่”