รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
เนื้อเรื่องปดลธรรมความเก่าเป็นการอธิบายความตามกระทู้ธรรม 18 คู่ ไปตามลำดับ
ผู้แต่งเรื่องปดลธรรมความเก่าได้นำความจากชาดกและหลักธรรมในพุทธศาสนามาประกอบ เช่น กระทู้ที่ 1 พระจันทร์หย่อนกว่าดาวนั้น มีคำอธิบายว่า หมายถึงผู้มีอำนาจยอมให้ผู้ต่ำศักดิ์ข่มเหงเพราะเกรงจะละเมิดศีล ผู้แต่งยกตัวอย่างเรื่องภูริทัตชาดกที่ถูกพรานอาลัมภายน์ทำร้าย แต่พระโพธิสัตว์ก็อดกลั้นเพราะเกรงจะผิดศีล เป็นต้น เนื้อเรื่องเป็นการอธิบายด้วยหลักธรรมพื้นฐาน เช่น ศีล อคติ กุศล และอกุศล ปัญญา คนพาล หรือสติ เป็นต้น
เรื่องปดลธรรมความเก่าเป็นต้นเค้าให้แก่เรื่องปดลธรรมคำกลอนของพระอมราภิรักขิต (เกิด) วัดบรมนิวาส ที่ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2420 และต่อมาพระยาราชวรานุกูล (อ่วม) ก็ได้นำเรื่องปดลธรรมคำกลอนมาเรียบเรียงเป็นปดลธรรมคำโคลง เมื่อ พ.ศ. 2448
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ปดลธรรมคำโคลง พระยาราชวรานุกูล (อ่วม) แต่ง เมื่อปี มะโรง พ.ศ. 2447 พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, 2470. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงล้อม ราชวรานุกูล เมื่อปี เถาะ พ.ศ. 2470)
ประชุมสุภาษิตฉบับหอสมุดแห่งชาติ. พระนคร: ผ่านฟ้าพิทยา, 2508.
ประวัติจดหมาย-ปดลธรรมของพระอมราภิรักขิต(อมร เกิด) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2511.
คำสำคัญ
หมายเหตุ
ปดลธรรมความเก่าเป็นวรรณคดีพุทธศาสนา สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยอยุธยา เป็นร้อยแก้วมีสัมผัส ไม่ปรากฏนามผู้แต่งแต่เข้าใจว่าเป็นพระภิกษุเพราะปรากฏข้อความตอนต้นเรื่องว่า “อาตมาภาพจะแต่งไว้ตามปัญญาสถานประมาณ” ต้นฉบับปดลธรรมความเก่าเป็นใบลาน หอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับมาจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแสดงความเห็นว่า “อ่านตรวจดูเห็นเป็นสำนวนแต่งครั้งกรุงเก่าเป็นแน่นอนไม่มีที่สงสัย” และ ทรงตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องปดลธรรมนี้มีวิธีการอธิบายและลักษณะคล้ายกับเรื่องอัฏฐธรรมปัญหาของพระเพทราชา