รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
หิรัญกับนางกาญจนีเป็นเศรษฐีอยู่ที่เมืองจำปาก ทั้งคู่ไม่มีบุตรธิดาจึงไปบนขอบุตรที่ต้นไทร แต่เมื่อได้บุตรแล้วกลับไม่ไปแก้บน พระไทรเทพารักษ์จึงสาปแช่งให้เศรษฐียากจนลง ด้วยความแร้นแค้นหิรัญจึงลวงบุตรสาว 12 คนไปปล่อยป่า พวกนางเดินทางไปถึงอุทยานเมืองทานตะวัน ถูกนางยักษ์สุนนทาไล่ล่าจะจับกิน แต่พระฤๅษีช่วยไว้ได้ แล้วแนะให้ไปเมืองไกรจักร พวกนางจึงได้เป็นมเหสีของท้าวรถสิทธิ์ นางยักษ์ตามไปถึงเมือง ร่ายมนตร์ให้ท้าวรถสิทธิ์หลงใหล แล้วทำอุบายว่าป่วย ขอให้ควักดวงตานางสิบสองมาเป็นโอสถ แล้วเนรเทศพวกนางออกจากเมือง ต่อมานางเภาน้องสุดท้องประสูติโอรสชื่อรถเสน เมื่อเจริญวัยรถเสนได้พบท้าวรถสิทธิ์ ทั้งสองจึงรู้ว่าเป็นพ่อลูกกัน
นางยักษ์ออกอุบายให้รถเสนถือสารเดินทางไปเอายาวิเศษที่เมืองทานตะวันเพื่อจะลวงไปให้ยักษ์สังหาร แต่พระฤๅษีช่วยแปลงสาร รถเสนจึงได้อภิเษกกับนางเมรีธิดาบุญธรรมของนางยักษ์ รถเสนขโมยของวิเศษพร้อมทั้งห่อดวงตานางสิบสองกลับไปรักษามารดาและป้า แล้วสังหารนางยักษ์สุนนทาได้สำเร็จ
รถเสนกลับไปหานางเมรี ขณะนั้นนางกำลังจะสิ้นใจ จึงบอกให้รถเสนไปอภิเษกกับนางทัศมาลีธิดาท้าวยศสุนทร รถเสนลอบได้นางทัศมาลีเป็นชายา ท้าวยศสุนทรจึงให้จับรถเสนขังไว้ ม้าทรงของรถเสนไปบอกพระฤๅษีให้มาช่วย เมื่อท้าวยศสุนทรรู้ว่ารถเสนเป็นโอรสท้าวรถสิทธิ์ จึงอภิเษกรถเสนกับนางทัศมาลี ต่อมารถเสนก็ทูลลาท้าวยศสุนทรกลับเมืองไกรจักร
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. “พระรถคำกลอน” ใน ประชุมเรื่องพระรถ. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2552.
คำสำคัญ
หิรัญ , กาญจนี , เมืองจำปาก , ขอบุตรที่ต้นไทร , ถูกสาปแช่งเพราะไม่ได้แก้บน , บุตรสาว , นาง 12 , นางสิบสอง , ยักษ์ , ยักษ์สุนนทา , ถูกยักษ์จับกิน , เมืองไกรจักร , ท้าวรถสิทธิ์ , หลงใหลนางยักษ์ , ๕วักลูกตา , รถเสน , เมืองทานตะวัน , ฤาษีแปลงสาร , เมรี , ทัศมาลี , ท้าวยศสุนทร
หมายเหตุ
พระรถคำกลอนเป็นวรรณคดีนิทาน ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งในสมัยใด เดิมเชื่อกันว่าเรื่องพระรถเสนหรือพระรถเมรีเป็นนิทานพื้นบ้านของไทย มีการเล่าสืบกันมาแบบมุขปาฐะ ต่อมาพระภิกษุชาวเชียงใหม่จึงเรียบเรียงขึ้นเป็นนิทานเรื่องรถเสนชาดกในปัญญาสชาดก แต่กรมศิลปากรเห็นว่าเค้าโครงเรื่องของพระรถเมรีคล้ายกับนิทานพื้นบ้านชาติอื่นๆ เช่น อินเดีย ลังกา ไทยใหญ่ เขมร พม่า ลาว และอาหรับ เป็นต้น จึงสันนิษฐานว่าพระรถเมรีของไทยน่าจะมีต้นเค้ามาจากนิทานพื้นบ้านของชาติอื่นที่ติดต่อกับไทยมากกว่า ปัจจุบันสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรได้ตรวจชำระและจัดพิมพ์พระรถคำกลอนรวมอยู่ในประชุมเรื่องพระรถเมื่อ พ.ศ. 2552 แบ่งออกเป็น 2 สำนวน ซึ่งบางตอนมีเนื้อหาแตกต่างกันไปบ้าง