รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
เนื้อเรื่องย่อ
นิราศพระราชวังสวนดุสิตกล่าวถึงการเดินทางของกวีเมื่อลาหญิงคนรัก เริ่มจากถนนตรีเพชร เข้าถนนเจริญกรุงซึ่งมีร้านค้าของคนไทย จีน และญี่ปุ่น เมื่อผ่านสี่กั๊กพระยาศรีกวีพรรณนาถึงความเจริญไว้ว่า “มีโฮเต็ลเป็นห้างอย่างวิไล บรรจงไว้อย่างยิ่งกว่าสิงคโปร์” จากนั้นผ่านสะพานมอญ วัดเชตุพน (พระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร) วัดศรีศาสดา (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) สนามหลวง ราชวังบวร (พระราชวังบวรสถานมงคล) วัดชนะสงคราม ตลาดบางลำพู วัดใหญ่บางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) เข้าถนนตะวัน (ถนนศรีอยุธยา) ถนนใบพร (ถนนอู่ทอง) ถนนซังฮี้ (ถนนราชวิถี) ถนนดวงดาว (ถนนราชสีมา) ถนนส้มมือ (ถนนสุพรรณ) เข้าสู่พระราชวังสวนดุสิตซึ่งมีสวนจำนวนมาก เช่น สวนสี่ฤดู สวนบัว สวนพุดตาน สวนภาพผู้หญิง สวนบ๋วยไพ่ สวนเขาไม้ สวนหงส์ สวนม้าสน สวนผักชีเข้ม สวนฝรั่งกังไส ฯลฯ ครั้นถึงเวลาเย็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสอุทยาน กวีจึงออกจากพระราชวังไปชมงานฉลองวัดเบญจมบพิตรซึ่งมีการละเล่นและการแสดงหลากหลาย จากนั้นจึงเดินทางผ่านสะพานเทวกรรม ตลาดนางเลิ้ง ไปสิ้นสุดที่วัดพรหมสุรินทร์ (วัดปรินายกวรวิหาร) แล้วเดินทางกลับโดยข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
“นิราศพระราชวังสวนดุสิต,” ใน ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมจากวรรณคดี กวีสยามนำเที่ยวกรุงเทพฯ, หน้า 219-239. กรุงเทพฯ : มติชน, 2545.
คำสำคัญ
หมายเหตุ
นิราศพระราชวังสวนดุสิตเป็นวรรณคดีบันทึกการเดินทาง แต่งด้วยกลอนนิราศ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและสมัยที่แต่ง ส. พลายน้อย สันนิษฐานว่านิราศเรื่องนี้น่าจะแต่งก่อน พ.ศ. 2451 เนื่องจากในเรื่องไม่ได้กล่าวถึงพระบรมรูปทรงม้า (ซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2451) และมีหลักฐานเป็นรอยประทับรับหนังสือของหอพระสมุดวชิรญาณว่ารับหนังสือนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453)