รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ยุคสมัย
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
กวีเริ่มเรื่องด้วยบทไหว้ครูและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการแต่งไว้ว่า “แม้ว่าตัวตาย จดจำทำไว้ หวังได้กุศล ผู้ใดได้อ่าน รับทานมงคล ให้จำเริญผล นิราศทุกขา” จากนั้นกล่าวถึงการรับนิมนต์ไปจำพรรษาที่วัดแพรกไพรบน (กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นตำบลปากแพรก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช) ขณะมีการปลูกสร้างกุฎิ พบของมีค่าฝังอยู่ในบริเวณนั้น กวีพรรณนาความร่มรื่นในวัดซึ่งมีสระน้ำที่มีกอบัวงาม มีปลาและเต่าอาศัยอยู่ มีต้นไม้หลายชนิดอยู่โดยรอบ ครั้นถึงฤดูฝนกวีรับกิจนิมนต์ไปฉลองพระปฏิมาที่วัดเขาพิเชียร ระหว่างทางกวีกล่าวถึงวัดและสถานที่ในเมืองปากพนัง เช่น วัดสระบัว วัดสองพี่น้อง วัดท่าไชยา ตลาดเก่า แม่น้ำปากพนัง พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อเดินทางถึงภูเก็ต กวีเก็บหินศักดิ์สิทธิ์ได้ ต่อมานำไปถวายพระเจ้าแผ่นดิน จึงได้รับพระราชทานเครื่องยศและได้เป็นพระครูเมืองตะกั่วทุ่ง
ที่เมืองภูเก็ตกวีเดินทางไปชมพระพุทธรูปที่ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน พบเสาตกน้ำมันเป็นเลือดที่วัดดอนคีรี เมื่อผ่าออกดู พบรังปลวกอยู่ จึงรู้ว่าสีแดงคล้ายเลือดนั้นเป็นมูลปลวก ครั้นเจ้าเมืองซึ่งเป็นญาติของกวีถึงแก่กรรม กวีจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ โดยทางเรือพร้อมขบวนของกรมอุดมบวร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี) เมื่อผ่านหลังสวน จังหวัดชุมพร พบโจรสลัดมาดักปล้น จึงต้องเปลี่ยนเส้นทาง ผ่านอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หาดชะอำ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เมืองสมุทรสาคร ด่านมหาชัย วัดจอมทอง (วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร) แล้วขึ้นฝั่งกลับไปจำพรรษาที่วัดอรุณ (วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร)
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. “นิราศแพรกไพร.” ใน ประชุมนิราศภาคใต้: นิราศนครศรีธรรมราช นิราศปักษ์ใต้ และนิราศแพรกไพร, หน้า 102-122. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2556.
คำสำคัญ