เนื้อหาของมหาวงส์แต่ละปริเฉทมีดังนี้
ผลงานแปลของพระยาธรรมปรีชา
ปริเฉทที่ 1 ประณามคาถาและเริ่มเรื่องการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า
ปริเฉทที่ 2 วงศ์ของพระพุทธเจ้า
ปริเฉทที่ 3 ปฐมสังคายนา
ปริเฉทที่ 4 ทุติยสังคายนา
ปริเฉทที่ 5 ตติยสังคายนา
ปริเฉทที่ 6 พระเจ้าวิชยะเสด็จมาลังกา
ปริเฉทที่ 7 การอภิเษกพระเจ้าวิชยะ
ปริเฉทที่ 8 การอภิเษกพระเจ้าปัณฑุวาสุเทพ
ปริเฉทที่ 9 การอภิเษกพระเจ้าอภยะ
ปริเฉทที่ 10 การอภิเษกพระเจ้าปัณฑกาภัย
ปริเฉทที่ 11 การอภิเษกพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
ปริเฉทที่ 12 การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ปริเฉทที่ 13 พระมหินทเถระมาลังกา
ปริเฉทที่ 14 พระมหินทเถระเข้าเมืองอนุราธปุระ
ปริเฉทที่ 15 การตั้งมหาวิหาร
ปริเฉทที่ 16 การสร้างเจดีย์ปัพพตวิหาร
ปริเฉทที่ 17 การเชิญพระธาตุจากอินเดีย
ปริเฉทที่ 18 พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะไปขอหน่อพระศรีมหาโพธิ
ปริเฉทที่ 19 พระสังฆมิตตาเถรีนำหน่อพระศรีมหาโพธิมาลังกา
ปริเฉทที่ 20 พระมหินทเถระนิพพาน
ปริเฉทที่ 21 เรื่องกษัตริย์ลังกา 6 พระองค์
ปริเฉทที่ 22 พระเจ้าคามินีอภัยประสูติ
ปริเฉทที่ 23 กองทัพของพระเจ้าคามินีอภัย
ปริเฉทที่ 24 สงครามระหว่างพี่น้อง
ปริเฉทที่ 25 ชัยชนะของพระเจ้าคามินีอภัย
ปริเฉทที่ 26 การฉลองมริจิวัตตวิหาร
ปริเฉทที่ 27 การฉลองโลหปราสาท
ปริเฉทที่ 28 การได้รับสิ่งของสำหรับการก่อสร้างสถูป
ปริเฉทที่ 29 การสร้างมหาสถูป
ปริเฉทที่ 30 การสร้างห้องพระธาตุ
ปริเฉทที่ 31 การประดิษฐานพระธาตุ
ปริเฉทที่ 32 พระเจ้าทุฏฐคามินีอภัยสวรรคต
(ปริเฉทที่ 33 ไม่ปรากฏต้นฉบับ)
ปริเฉทที่ 34 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 10 พระองค์
ปริเฉทที่ 35 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 11 พระองค์
ปริเฉทที่ 36 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 12 พระองค์
ปริเฉทที่ 37 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 13 พระองค์ (ในมหาวงส์ฉบับภาษาบาลีเป็นปริเฉทที่ 39)
ปริเฉทที่ 38 เรื่องพระเจ้ามหาเสนราช
ผลงานแปลของพระยาปริยัติธรรมธาดาและคนอื่นๆ
ปริเฉทที่ 37 แผ่นดินพระยาศิริเมฆวรรณ พระยาทารกเชษฐดิส พระยาพุทธทาสกุมาร พระยาอุปดิส และพระยามหานาม
ปริเฉทที่ 38 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 10 พระองค์
ปริเฉทที่ 39 แผ่นดินพระเจ้ากัสสปที่ 1 และแผ่นดินพระยาโมคคัลลานที่ 1
(ปริเฉทที่ 40 ไม่ปรากฏต้นฉบับ)
ปริเฉทที่ 41 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 10 พระองค์
ปริเฉทที่ 42 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 3 พระองค์
(ปริเฉทที่ 43 ไม่ปรากฏต้นฉบับ)
ปริเฉทที่ 44 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 8 พระองค์
ปริเฉทที่ 45 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 4 พระองค์
ปริเฉทที่ 46 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 3 พระองค์
ปริเฉทที่ 47 เรื่องพระเจ้ามานวัมมราช
ปริเฉทที่ 48 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 6 พระองค์
ปริเฉทที่ 49 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 5 พระองค์
ปริเฉทที่ 50 เรื่องพระเจ้ามหาเสนราช และการทำไมตรีกับพระเจ้าปัณฑุราช
ปริเฉทที่ 51 แผ่นดินพระเจ้าเสนราชและแผ่นดินพระเจ้าอุทัยที่ 1
ปริเฉทที่ 52 แผ่นดินพระเจ้ากัสสปที่ 4 และแผ่นดินพระเจ้ากัสสปที่ 5
ปริเฉทที่ 53 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 5 พระองค์
ปริเฉทที่ 54 เรื่องพระเจ้าแผ่นดินของลังกา 3 พระองค์
ปริเฉทที่ 55 เรื่องพระเจ้ามหินทที่ 4 รบกับกษัตริย์ทมิฬ
ปริเฉทที่ 56 เรื่องพระเจ้าวิกรมพาหุ และกษัตริย์อีก 5 พระองค์
ปริเฉทที่ 57 แผ่นดินโลกเสนาบดี
ปริเฉทที่ 58 เรื่องพระเจ้าวิชัยพาหุปราบโจฬราฐ
ปริเฉทที่ 59 แผ่นดินพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1
ปริเฉทที่ 60 พระเจ้าวิชัยพาหุทำนุบำรุงบ้านเมือง
ปริเฉทที่ 61 แผ่นดินพระเจ้าชัยพาหุและแผ่นดินพระเจ้าวิกรมพาหุ
ปริเฉทที่ 62 ประวัติของพระเจ้าคชพาหุ
ปริเฉทที่ 63 แผ่นดินพระเจ้าคชพาหุ 2
ปริเฉทที่ 64 เรื่องพระเจ้าคชพาหุคิดจะสอดแนมราชการในมณฑลอื่น
เรื่องมหาวงส์แสดงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปซึ่งเป็นต้นแบบพระพุทธศาสนาในประเทศไทย การแปลเรื่องมหาวงส์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจึงแสดงถึงการฟื้นฟูวรรณกรรมศาสนาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นอกจากนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จารึกเรื่องมหาวงศ์จำนวน 32 แผ่น ประกอบภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้ที่วิหารพระไสยาสน์ ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามด้วย