รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
เรื่องมหาสงกรานต์กล่าวถึงครั้งต้นภัทรกัลป์นั้นมีเศรษฐีและนักเลงสุราอาศัยอยู่ใกล้กัน วันหนึ่งนักเลงสุรากล่าวเย้ยหยันเศรษฐีซึ่งไม่มีทายาท เศรษฐีจึงบวงสรวงเทวดาเพื่อขอบุตร แต่ก็ไม่ได้ผล จนเศรษฐีได้ทำการบวงสรวงพระไทร รุกขเทวดาที่รักษาต้นไทรมีใจกรุณาต่อเศรษฐี จึงไปขอธรรมบาลเทวบุตรจากพระอินทร์ให้มาเกิดเป็นบุตรเศรษฐี ภรรยาเศรษฐีคลอดบุตร เศรษฐีบิดาให้ชื่อว่าธรรมบาลและปลูกปราสาท 7 ชั้นให้ธรรมบาลกุมารอยู่ใกล้ต้นไทรนั้น
ธรรมบาลกุมารเป็นผู้มีปัญญาจึงเรียนรู้ภาษานกตลอดจนไตรเพททั้งมวล ครั้นหนึ่งธรรมบาลจึงได้สอนการมงคลแก่มนุษย์ ฝ่ายกบิลพรหมทราบก็ไม่พอใจ จึงลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร และพนันว่าภายใน 7 วันหากธรรมบาลกุมารแก้ปัญหาได้ กบิลพรหมจะตัดศีรษะตนบูชา หากกบิลกุมารตอบปัญหาไม่ได้ก็จะถูกตัดศีรษะ ธรรมบาลกุมารคิดปัญหาจนสิ้นหกวัน ก็ไม่ทราบคำตอบจึงไปนั่งทอดอาลัยใต้ต้นตาลที่มีนกอินทรีสองตัวอาศัยอยู่ พ่อนกอินทรีคุยว่าพรุ่งนี้จะได้กินเนื้อธรรมกุมารเพราะไม่อาจตอบปัญหากบิลพรหมได้ นางนกจึงถามคำตอบ พ่อนกจึงเฉลยปัญหาให้ฟัง
ครั้นธรรมกุมารได้ฟังคำตอบ ก็กลับบ้านด้วยความยินดี เมื่อกบิลพรหมลงมาตามกำหนด ธรรมบาลแจ้งคำตอบที่รู้มาจากนกอินทรี กบิลพรหมจึงให้ธิดาทั้ง 7 มาแล้วตัดเศียรตนบูชาธรรมบาลกุมาร ธิดาทั้ง 7 คือนางทุงษะ นางรากษะ นางโคระ นางมณฑากิณี นางมณฑา นางมิศระ และนางมโหธร จึงผลัดเปลี่ยนกันนำเศียรกบิลพรหมเวียนรอบเขาพระสุเมรุเพื่อบูชาธรรมบาลกุมาร แล้วจึงเชิญกลับเข้าถ้ำคันทชุลี บนเขาไกรลาส
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ. กรุงเทพฯ: ศิวพร, 2517. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(ปุ่น ปุณฺณสิริ) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 23 เมษายน พุทธศักราช 2517)
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
คำสำคัญ
สงกรานต์ , มหาสงกรานต์ , บวงสรวงเพื่อขอบุตร , ธรรมบาล , มีปัญญามาก , พระอินทร์ทรงประทานเทวบุตร , กบิลพรหม , ประลองชาวน์ , นางทุงษะ , นางรากษะ , นางโคระ , นางมณฑากิณี , นางมณฑา , นางมิศระ , นางมโหธร
หมายเหตุ
มหาสงกรานต์เป็นวรรณคดีประเภทนิทานแต่งเป็นร้อยแก้ว ไม่ปรากฏนามผู้แต่งและสมัยที่แต่ง เมื่อครั้งที่มีการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำเรื่องมหาสงกรานต์จารึกไว้บนแผ่นศิลาจำนวน 7 แผ่นเพื่อประดับศาลาล้อมพระมณฑปทางทิศเหนือ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ครั้นเมื่อกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณสำรวจศิลาจารึกของวัดพระเชตุพนฯ เพื่อรวมพิมพ์เผยแพร่ในพ.ศ. 2472 พบว่าจารึกแผ่นที่ 5 ได้หายไปแล้ว จารึกไว้บนแผ่นศิลาจำนวน 7 แผ่นเพื่อประดับศาลาล้อมพระมณฑปทางทิศเหนือ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม