รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
ชื่อเรื่องอื่น
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
เนื้อเรื่องย่อ
รัตนพิมพวงส์กล่าวถึงมูลเหตุการสร้างพระแก้วมรกตและการนำไปประดิษฐานยังเมืองต่างๆ เริ่มตั้งแต่อดีตชาติของพระนาคเสนจากนิทานตอนต้นของมิลินทปัญหา พระนาคเสนปรารภจะสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง พระอินทร์จึงไปยังวิบุลบรรพตเพื่อนำแก้วมณีมาสร้างพระพุทธรูป กุมภัณฑ์ที่เฝ้าแก้วที่ภูเขานั้นทูลให้ใช้แก้วอมรกตสร้างพระพุทธรูป พระอินทร์จึงนำไปถวายพระนาคเสนและให้พระเวสุกรรมช่วยสร้างพระพุทธรูปจนสำเร็จ พระนาคเสนพยากรณ์ว่าในอนาคตกาลพระพุทธรูปนี้จะไปประดิษฐานในวงศ์ทั้งสามคือ กัมพุชวงศ์ มลานวงศ์ และสยามวงศ์ ต่อมาเกิดสงครามในเมืองปาฏลิบุตรประชาชนนำพระพุทธรูปใส่เรือไปยังลังกาทวีป พระพุทธรูปอยู่ในเมืองลังกาจนถึง พ.ศ. 1000 พระเจ้าอนุรุทธผู้ครองเมืองมลานบุระโปรดให้สมณทูตไปเชิญพระไตรปิฎกและพระพุทธรูปอมรกตมายังเมืองมลานบุระ ระหว่างทางเกิดพายุพัดเรือสำเภาไปยังเมืองมหานิชินทนคร ในแคว้นกำโพชาประเทศ ชาวเมืองจึงเชิญพระพุทธรูปไว้ในเมือง ต่อมาเกิดพิบัติภัยในเมืองกำโพชา ประชาชนจึงนำพระพุทธรูปใส่เรือไปประดิษฐานยังเมืองมหาบุรนคร
ครั้นพระเจ้าอาทิตย์ยึดเมืองมหาบุรนครได้ จึงอัญเชิญพระพุทธอมรกตไปไว้ที่เมืองอโยธยา ต่อมาพระเจ้าภูมบดีได้อัญเชิญไว้ที่เมืองวิเชียรปราการนคร และพระเจ้าธรรมิกราชได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองชิรายปุระในแคว้นโยนกโดยได้ลงรักปิดทองคำหุ้มพระอมรกตไว้ในเจดีย์ ครั้นเจดีย์ทลายลงจึงพบว่าพระพุทธรูปเป็นแก้วบริสุทธิ์ พระเจ้าชิรายปุระจึงให้ทำการบูชาอย่างยิ่งใหญ่
พระเจ้านวิสินทนครต้องการได้พระอมรกตมาไว้ที่เมืองจึงส่งสารไปขอ พระเจ้าชิรายปุระประทานให้ แต่ระหว่างทางเทวดาได้หยุดขบวนไว้ พระเจ้านวิสินทนครจึงทรงเสี่ยงทาย ให้จับสลากเมืองเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ได้ชื่อเมืองมหานครถึงสามครั้ง ชาวเมืองจึงอัญเชิญพระพุทธรูปเข้ามาประดิษฐานในเมือง
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ตำนานพระแก้วมรกต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2519.(พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก(พิเศษ) สุรัตน์ ชลทรัพย์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 5 เมษายน พุทธศักราช 2519)
คำสำคัญ
หมายเหตุ
รัตนพิมพวงส์หรือตำนานพระแก้วมรกตเป็นวรรณคดีพุทธศาสนา พระพรหมราชปัญญาเถระ พระภิกษุล้านนาเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นเป็นภาษาบาลี ต่อมาพระยาธรรมปรีชา (แก้ว) เมื่อครั้งเป็นพระยาธรรมปโรหิตได้เรียบเรียงเป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. 2331 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แล้วมอบให้ผู้รู้ตรวจสอบ