รหัสข้อมูล
ชื่อเรื่องหลัก
เรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน
ยุคสมัย
วันที่แต่ง
ผู้แต่ง
คำประพันธ์
ฉันทลักษณ์
ร่ายดั้น , ร่ายสุภาพ , โคลงดั้นบาทกุญชร , โคลงดั้นวิวิธมาลี , โคลงสี่สุภาพ
เนื้อเรื่องย่อ
โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนเริ่มด้วยบทสรรเสริญพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงทศพิธราชธรรม จักรพรรดิวัตรและราชสังคหวัตถุ และเล่าว่าใน พ.ศ. 2374 เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินที่วัดพระเชตุพน ทอดพระเนตรเห็นถาวรวัตถุในพระอารามทรุดโทรมเพราะปฏิสังขรณ์มาได้ 31 ปีแล้วตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์กับพระยาเพ็ชรพิไชยเป็นแม่กองการปฏิสังขรณ์ รื้อพระอุโบสถเก่า ขุดรากขยายให้ใหญ่ออกไปถึงแนวสีมาเดิม และให้สร้างกุฏิคณะสงฆ์ต่อจากคณะเก่าไปทางทิศใต้เป็นตึกอีกหมู่หนึ่ง รื้อกุฏิเก่าซึ่งเป็นไม้เปลี่ยนเป็นตึก รวมกุฏิ หอสวดมนต์ หอไตร ศาลา หอระฆัง ทั้ง 2 หมู่เป็นอาคาร 237 หลัง รายการปฏิสังขรณ์ในเขตพุทธาวาสมีดังนี้คือ พระอุโบสถ พระวิหารทิศ พระระเบียงชั้นในชั้นนอก พระมหาธาตุ พระเจดีย์รายและพระเจดีย์หย่อม พระมหาเจดีย์ ศาลาราย พระวิหารคด กำแพงแก้วคั่นเขตกลางวัด หอธรรม (พระมณฑป) ศาลาทิศพระมณฑป ศาลาการเปรียญ พระวิหารน้อย หอระฆัง สระ สวนมิสกวัน วิหารพระไสยาสน์ ภูเขารอบบริเวณกำแพงวัด ประตูและกำแพงวัด สุดท้ายคือฉนวนน้ำ
โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน มีบทพรรณนาการซ่อมสร้างวัดพระเชตุพนอย่างละเอียดทั้งภายในภายนอกอาคาร สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ในบริเวณวัด จิตรกรรมและประติมากรรมตกแต่ง วัสดุที่ใช้ สี ขนาดของอาคารและวัตถุ และกล่าวถึงการที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพวิชาทางพระพุทธศาสนา ตำรายา วรรณคดี สุภาษิต ประเพณี ฯลฯ ไว้ตามสถานที่ที่ปฏิสังขรณ์ทั่วบริเวณวัดเพื่อเป็นความรู้แก่ประชาชน
ตอนท้ายเรื่องเป็นรายนามนายด้าน (ผู้คุมการก่อสร้างแต่ละส่วน) นามผู้แต่ง จุดมุ่งหมายและวันเดือนปีที่แต่ง
วัตถุประสงค์
ผู้เรียบเรียง
เอกสารอ้างอิง
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก, 2547.
คำสำคัญ